31 มีนาคม 2560

"ร่องรอยจางๆ ของ isis ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย"


เนื่องมาจากเครือข่าย is ได้แผ่ขยายเครือข่ายของเขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่นั่นก็ยังไม่ชัดเจนหรือยังคลุมเครือว่ากลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มนี้ได้ทำให้เกิดการรุกราน หรือโจมตี หรือก่อความไม่สงบในพื้นที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

นับตั้งแต่ชาวมุสลิมใน จชต. เริ่มเข้าร่วมกับกลุ่ม is ในปี  พ.ศ.2557 ซึ่งไม่มีรายงานที่น่าเชื่อถือว่ากลุ่มมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ จาก จชต.ได้เข้าร่วมกับกลุ่ม ญีฮาดระดับโลกนั้น  ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย กล่าวไว้เมื่อวันที่ 7 ก.พ.60 ว่า 1 ใน 6  ของสมาชิก isis  ที่ถูกจับในข้อหาครอบครองวัตถุระเบิด ที่รัฐกลันตัน ตอนเหนือ ของมาเลเซียชายแดนติดกับไทยนั้น  ปรากฏว่าเป็นสมาชิกของขบวนการ BRN ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่ต่อสู้กับรัฐบาลไทยในภูมิภาคนี้  ชาวมุสลิมจาก 3 จชต.ของไทย ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามภาคใต้ตอนล่าง โดยมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้าน เชื้อชาติ  และศาสนา กับกลุ่มนักรบญีฮาด

มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม isis ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า BRN พยายามที่จะหลีกเลี่ยง ตราสัญลักษณ์ sadifi  jihadism ของกลุ่ม isis รวมถึงความทะเยอทะยานของพวกเขาที่จะก่อตั้งเป็น หัวหน้าศาสนาอิสลามของโลกและมีแรงผลักดันที่จะปลดปล่อยจากการปกครองของประเทศไทยตามที่ 2 แหล่งข่าวที่เชี่ยวชาญในพื้นที่นี้ โดยทางการไทยได้เตือนคู่กรณีคือมาเลเซียเมื่อ 1 ปีก่อนนี้ เกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยดังกล่าวว่าเป็นกลุ่ม isis ชื่อ uzman  jeh-umong  อายุ 40 ปี ได้หลบซ่อนตัวในรัฐกลันตันของมาเลเซีย  ตั้งแต่การจับกุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์  มาเลเซียได้ปฏิเสธการส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาโดยตลอด ทางการไทยกล่าว และในขณะเดียวกันแหล่งข่าวแจ้งว่าผู้ต้องหาคนดังกล่าวได้ถูกปล่อยตัวไปแล้ว  ที่ผ่านมาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงของไทยและมาเลเซียมีประวัติศาสตร์ความขัดแย้งยาวนานในการจัดการกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชื้อสายมุสลิมมาเลย์ โดยใช้มาเลเซียเป็นสถานที่วางแผนระดับปฏิบัติการ ทางการไทยจับตาดูคู่กรณีมาเลเซียมาโดยตลอดโดยเฉพาะชายแดนที่ตัดผ่านมาในรัฐกลันตันที่ชาวมาเลย์พูดภาษาท้องถิ่นคล้ายกับภาษาพูดในฝั่งไทย โดยที่มาเลย์เพิกเฉยต่อการเรียกร้องของไทยต่อการปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ของไทย   ทางการมาเลย์ได้ปิดปากเงียบเกี่ยวกับการจับกุมผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับ isis ที่ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดต่อสื่อเกี่ยวกับ uzman หรืออีก 5 คน ที่ถูกคุมขังซึ่งทางการไทยเชื่อว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย BRN แต่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ isis  พวกเขาอ้างว่า Uzman คือหัวหน้า RKK แทนที่จะเป็นหน่วยคอมมานโดของ BRN ใน จชต.ในขณะเดียวกันหลาย แหล่งข่าวกล่าวว่าด้วยจำนวนทหารและสมาชิกใหม่ของ isis ที่เพิ่มขึ้นในมาเลเซีย จะเป็นสัญญาณบ่งบอกได้ว่า กลุ่มแบ่งแยกดินแดนบางกลุ่มอาจกำลังสื่อสารกับสมาชิก กลุ่ม isis ในมาเลเซีย

มาเลเซียได้พยายามอย่างมากในการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงที่หนักขึ้นในมาเลเซีย เมื่อวันที่ 5 มี.ค.60 ทางการมาเลเซียได้เปิดเผยว่ามีชาย 7 คน รวมถึงชาวอินโดนีเซีย 1 คน ได้ถูกจับกุมเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากพัวพันในการปลุกระดม และปลุกปั่นจาก isis

แหล่งข่าวในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่าทางการมาเลย์ มีแนวโน้มที่จะใช้ประโยชน์จากการคุกคามของisis จากการเบี่ยงเบนความสนใจจากสาธารณชนเรื่องความอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริต ของรัฐบาล นาจิบ  ตุนราซัค  ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัทพัฒนาของรัฐเข้าบัญชีของตนเอง ซึ่งนาจิบได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว ในขณะที่สมาชิก BRN บางคนเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับกลุ่ม pan-islamist การเคลื่อนไหวของดลุ่มก่อการร้ายได้ปิดกั้นกลุ่มก่อความไม่สงบภายนอก รวมทั้งกล่ม JI ที่ตั้งขึ้นในอินโดนีเซียจากการสร้างฐานและการโจมตีจากพื้นที่ควบคุมของพวกเรา JI เป็นผู้ก่อเหตุระเบิดในอินโดนีเซียปี 2545 ที่กล่าวกันว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก และมีการระเบิด รร.นานาชาติ ณ กรุงจาการ์ตา

นั่นเป็นเพียงเหตุผลบางส่วนว่าทำไมแหล่งข่าวความมั่นคงเชื่อว่า BRN ซึ่งพยายามหลีกเลี่ยงอุดมการณ์จากชาติตะวันตกและชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลามในภูมิภาคจะยังคงปฏิเสธคำขอใดๆของ isis ในการจัดตั้งที่อยู่ และที่ฝึกจากภูมิภาคที่ควบคุมยาก  "มันเป็นความขัดแย้งของพวกเขา" คำพูดของนายพลไทยที่เกษียณท่านหนึ่ง "พวกเขาไม่ต้องการให้กลุ่มอื่นๆ มายุ่งเกี่ยว"

ยังคงมีข่าวลือแพร่สะพัดในหมู่ชาวบ้านท้องถิ่นบางส่วน ซึ่งจำนวนหนึ่งเป็นชาวมุสลิมมาเลย์จาก 3จชต.เดินทางไปซีเรียเพื่อต่อสู้ให้กับisis และสมาชิก isis ชาวมาเลเซียได้ใช้ไทยเป็นทางผ่านเพื่อที่จะไปซีเรียหรืออิรัก

พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน พ.ย.ปีที่ผ่านมาว่ารายงานของหน่วยข่าวกรองออสเตรเลียอ้างว่าคนไทยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ isis และผู้ใช้ facebook กว่า 100,000 คน ในประเทศไทยได้เข้าไปเยี่ยมชมกลุ่มออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับ isis เมื่อปีที่แล้ว วันต่อมา พล.ต.อ.ศรีวราห์ฯ กล่าวว่าข้อมูลจากออสเตรเลียไม่ใช่ของไทย และไม่มีการเคลื่อนไหวของ isis ในไทย

ทางการไทยยอมรับว่าการเฝ้าติดตามทางสื่อสังคมออนไลน์แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนอุดมการณ์ของ isis สำหรับพื้นที่มุสลิมชนกลุ่มน้อย ที่มีปัญหาใน จชต. และเสียชีวิตประมาณ 7,000 คน ในเหตุการณ์ตั้งแต่ปี 2547 พวกเขากล่าวว่ายังคงไม้มีหลักฐานที่ชี้ว่ามุสลิมมาเลย์จะเข้าร่วมกับ isis

วีดีโอและรูปถ่ายที่พบในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน BRN ที่ต้องสงสัย เนื่องจากความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในปี ตั้งแต่ปี2547 ได้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนบางกลุ่มได้รับแรงบันดาลใจมาจาก pan-islamist

นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าเครือข่ายปลอมแปลงหนังสือเดินทางที่ยังคงทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ปลอมแปลงเอกสารเดินทางสำหรับนักรบญีฮาดภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เพื่อเดินทางไปรบในซีเรียและอิรัก ตามที่เจ้าหน้าที่ไทยคนหนึ่งกล่าว ทางการไทยจะเสนอได้ชัดเจนว่า BRN ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับ isis  นั่นเป็นเพราะความเชื่อมโยงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจะนำมาซึ่งการตรวจสอบของรัฐบาลตะวันตกที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งเกี่ยวกับการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน จชต.ของไทย และผู้มีอำนาจที่หัวแข็งในพื้นที่ซึ่งถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิต่อผู้ต้องสงสัยและใช้ความขัดแย้งเพื่อปกปิดกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่นการลักลอบขนนำมันเถื่อนและ การค้ามนุษย์

นักวิเคราะห์และนักการทูตเชื่อว่าถ้ารัฐบาลไทยส่วนกลางกระบวนการเจรจาตามแบบแผนที่มีผลต่อเอกราชในภูมิภาคนี้ อาจทำให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นใหม่สามารถถูกยั่วยุและทำงานให้กับกลุ่ม isis  เพิ่มความเสี่ยงจากการโจมตีด้วยการสร้างความหวาดกลัวเป็นวงกว้างในพื้นที่ท่องเที่ยวของไทย แม้ว่ากลุ่มก่อการร้าย BRN จะทำให้เกิดระเบิด  ในพื้นที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี พ.ศ.2558 และ 2559 การโจมตีไม่ก่อให้เกิดผู้บาดเจ็บล้มตายแต่อย่างใด การเป็นพันธมิตรกับ isis  ณ จุดนี้ในข้อขัดแย้งจะแสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์สำหรับ BRN และสำหรับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มใดก็ตามในอนาคต แทนที่จะหันมาทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นต่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ใช้มาเลเซียเป็นฐาน ซึ่งรัฐบาล kl เคยสนับสนุน ปัจจุบัน กกล.ความมั่นคงของ มาเลย์ถูกคาดหวังให้ปราบปรามอย่างหนักต่อชาวมุสลิมมาเลย์ที่เกี่ยวข้องกับ isis อย่างชัดเจน

นั่นอาจจะดูเหมือนว่าช่วยอธิบายได้ว่าทำไมนักวิเคราะห์พบว่าแทบจะไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชื้อสายมาเลย์ของไทยและกลุ่มก่อการร้าย pan-islamist ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและทำไมการจับกุมผู้ต้องสงสัย BRN ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่ผ่านมาในมาเลเซียตั้งใจอย่างตรงไปตรงมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าแนวความคิดแบบนี้ยังคงอยู่ 


ที่มา asia  time

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น