31 ตุลาคม 2561

จาก "มารา ปาตานี" สู่ "มาราฯพลัส"


จาก "มารา ปาตานี" สู่ "มาราฯพลัส" กับยุทธศาสตร์ช่วงเปลี่ยนผ่านโต๊ะพูดคุย
แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงหลายเดือนมานี้ เกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย จนไม่มีใครคาดเดาได้ว่าโครงสร้างและองค์ประกอบของโต๊ะพุดคุยจะยังเหมือนเดิมหรือไม่ 
แต่กลุ่ม "มารา ปาตานี" ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ 6 กลุ่ม ซึ่งอ้างว่ามี "บีอาร์เอ็น" รวมอยู่ด้วย และได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยฯกับรัฐบาลไทยมาตั้งแต่ปี 58 ก็ยังเดินหน้าทำงานของตัวเองต่อไป 
ทั้งๆ ที่มีข่าวว่า "มารา ปาตานี" อาจถูกลดบทบาทลง เพราะไม่ได้เป็น "ตัวจริง" ที่ควบคุมสถานการณ์และกลุ่มติดอาวุธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ช่วงที่ผ่านมา "มารา ปาตานี" ได้เชิญภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนใต้ไปพูดคุยกันที่มาเลเซีย เนื้อหาของการพูดคุยมีทั้งการทำความเข้าใจในเรื่องแนวคิด วิธีการทำงาน ตลอดจนปัญหาของกระบวนการพูดคุยฯ และท่าทีของรัฐบาลไทย
เป็นที่น่าสังเกตว่า จังหวะเวลาที่ "มารา ปาตานี" เชิญภาคประชาสังคมจากชายแดนใต้ไปพูดคุย เป็นช่วงที่รัฐบาลมาเลเซียเปลี่ยนตัว "ผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุย" จาก ดาโต๊ะซัมซามินเป็น ตันสรี อับดุลราฮิม นูร์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลมาเลเซียแล้วด้วยซ้ำ และที่น่าสนใจก็คือ มีการเชิญภาคประชาสังคมที่เป็นคนพุทธข้ามไปพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือ บุษยมาส อิศดุลย์ ประธานกลุ่มเยาวชนนอกระบบบ้านบุญเต็ม ซึ่งทำงานด้านการดูแลสิทธิของเยาวชนในคดีความเบื้องต้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
"ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะได้เจอกับมาราฯ แต่ก็ได้เจอ มีผู้ชาย 4 คน คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษกของมาราฯ และมาจากบีอาร์เอ็น เราเจอในประเทศมาเลเซีย ได้พูดคุยกัน ได้รับฟังในสิ่งที่กลุ่มเขาทำ" บุษยมาส บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการพบปะ
"คนของมาราฯ บอกว่าไม่อยากได้ยินเรื่องใครตัวจริง ตัวปลอม ตามที่ใครๆ พูดกัน เขาบอกว่ากว่าจะมารวมตัวกันได้ กว่าจะตกลงกันได้ก็มีปัญหาภายใน และพวกเขาก็ตกลงกันว่าจะใช้ชื่อในการพูดคุยฯหลังจากนี้่ว่า มาราฯ พลัส"
คำว่า "มาราฯ พลัส" ตามที่บุษยมาสเล่า น่าจะแฝงนัยของการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมไปร่วมในปีกของ "มารา ปาตานี" ซึ่งถือเป็นการทำงานแบบก้าวกระโดดของมาราฯ เพราะในฝั่งคณะพูดคุยฯตัวแทนรัฐบาลไทย ยังจัดทัพภายในกันอยู่เลย ในส่วนของ "ข้อเรียกร้อง" ที่ว่ากันว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กระบวนการพูดคุยฯต้องหยุดชะงักไปตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในมาเลเซียเดือน พ.ค.61 โดยเฉพาะเรื่อง  "พื้นที่ปลอดภัย" ประเด็นนี้ "มารา ปาตานี"มีคำอธิบาย
"เขาบอกว่าแต่ละคนก็มีข้อเรียกร้อง มีข้อเสนอมารวมกัน ข้อเรียกร้องร่วมมี 3 ประเด็นที่เขาเคยยื่นมาก่อนแล้ว และได้นำร่องไปแล้วในเรื่องของการจัดตั้งเซฟตี้โซน (พื้นที่ปลอดภัย) ซึ่งจะแตกต่างจากการตั้งเซฟเฮาส์ และมีคณะกรรมการทำงานในพื้นที่ที่มาจากการเสนอของทั้ง 2 ฝ่าย"
นี่คือส่วนของข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับ "พื้นที่ปลอดภัย" ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลไทยทำฝ่ายเดียวอยู่ ขณะที่ข้อเรียกร้องหลักอื่นๆ ก็มีอีก 3 ข้อ
"มีเรื่องของการปกครองพิเศษแบบที่ไม่แบ่งแยกดินแดน การใช้ภาษา และความเป็นอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ แต่ในรายละเอียดเราต้องรอดูว่าเขาจะเสนออะไรบ้างและรัฐบาลไทยจะว่าอย่างไร โดยมาราฯบอกว่าเขาตั้งใจจะเสนอให้รัฐบาลไทยหลังจบการเลือกตั้ง (ของไทย) ซึ่งหมายถึงภายใน 15 เดือนหลังจากนี้" บุษยมาส บอก
ข้อสรุปของทิศทางการพูดคุยหลังจากนี้ของ "มารา ปาตานี" หรือ "มาราฯ พลัส" จากข้อมูลของบุษยมาสก็คือ พวกเขาจะยื่นข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งแม้จะใช้เวลา แต่ตัวแทนภาคประชาสังคมจากชายแดนใต้อย่างบุษยมาส ก็พร้อมที่จะรอ และคาดหวังว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
"เราเองก็หวังว่าหลังจากนี้อีก 15 เดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็คือรอให้รัฐบาลนิ่งก่อน และมีการพูดคุยกันอย่างสันติ แล้วทุกอย่างก็จบลงด้วยดีบนโต๊ะเจรจา รับข้อตกลง ไม่เหมือนกับ 5 ครั้งที่ผ่านมาที่ทำแล้วหาย ไม่เกิดข้อตกลงอะไรเลย"
ในทัศนะของบุษยมาส เธอเห็นว่ารัฐบาลไทยรับฟังและยอมรับข้อเสนอ ตลอดจนข้อเรียกร้องของผู้เห็นต่างจากรัฐน้อยเกินไป
"รัฐไทยพยายามทำให้เราเห็นว่ามีกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนอยู่จริง มีบีอาร์เอ็น มีพูโล มีมารา ปาตานี รัฐบาลไทยพยายามสื่อให้เราเห็นว่ามันมี แต่ในขณะเดียวกันทางฝั่งรัฐบาลเองก็ทำให้เราเห็นว่าเขาไม่รับฟัง เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รับฟัง ปัญหาก็ยังคงอยู่ ถามว่ามันจะสิ้นสุดที่ตรงไหน" เป็นความค้างคาใจของบุษยมาส
ส่วนข้อสงสัยจากหลายฝ่ายที่ว่าเหตุใดเมื่อกระบวนการพูดคุยเริ่มต้นแล้ว การก่อเหตุรุนแรงยังคงอยู่ เรื่องนี้ "มารา ปาตานี" ก็มีคำตอบเหมือนกัน
"เขาให้ข้อสังเกตว่าทุกครั้งที่มีการเปิดโต๊ะเจรจาพูดคุยกัน ฝั่งรัฐบาลไทยก็ไป แต่ไม่ว่าจะมีข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องอะไร รัฐบาลไทยไม่เคยลงนามอะไรเลย แม้แต่บันทึกข้อตกลง คุยกันทีไรฝั่งไทยเราก็เฉย แล้วก็นิ่ง แล้วก็หาย ตรงนี้จึงเป็นประเด็นที่ไม่เกิดข้อตกลง และฝั่งมาราฯก็ไม่ได้รับการชี้แจงหรือคำตอบอะไร ก็เลยเป็นที่มาของประเด็นปัญหาคาราคาซังจนถึงทุกวันนี้"
          "เขา (มารา ปาาตานี) ก็คาดหวังที่จะให้เกิดความสงบ  มาราฯใช้คำว่าเป็นประเด็นสันติภาพ ไม่ใช่สันติสุข ก็แสดงว่ามันมีนัยอะไรในประเด็นสันติภาพ แต่ฝั่งของคนไทยเรา เราเรียกร้องสันติสุข ซึ่งมันก็ไม่ตรงกับความคิดเห็นของทางมาราฯ เพราะเป็นแบบนี้เราก็จะต้องมาคิดว่าจะทํากันอย่างไรต่อไป" บุษยมาส กล่าว
          ทั้งหมดนี้คือกระแสข่าวและความเคลื่อนไหวของ "มารา ปาตานี" คู่พูดคุยของรัฐบาลไทยเพื่อยุติความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในห้วงเวลาที่ข่าวคราวจากพวกเขาเงียบหายไปจากสื่อกระแสหลักบ้านเรา

18 ตุลาคม 2561

รัฐติวเข้มปัญหาสุขภาวะชายแดนใต้ หลังโรคหัดระบาดใหญ่ตาย 5

รองนายกรัฐมนตรี และผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ เตรียมลงพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อประชุมใหญ่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หลังเกิดการระบาดของโรคหัดในเด็ก ทำให้มีเด็กเสียชีวิต 5 ราย ติดเชื้อและป่วยอีกเกือบครึ่งพัน
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นัดกันลงพื้นที่วันที่ 19 ต.ค.นี้ พร้อมเรียกประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งสามจังหวัด ที่สำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย จังหวัดปัตตานี เพื่อเร่งรัดหามาตรการป้องกันปัญหาการระบาดของโรค ตลอดจนปัญหาสุขภาวะในภาพรวมของพื้นที่ด้วย
การระบาดของ "โรคหัด" ไม่ควรเกิดขึ้นอีกแล้วในบ้านเรา เพราะประเทศไทยเตรียมประกาศให้โรคหัดหมดไปจากประเทศภายในปี 2563 ตามพันธะสัญญานานาชาติ
แต่ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมากลับมีเด็กป่วยจากโรคหัดจำนวนมาก ที่โรงพยาบาลเต็มไปด้วยเด็กๆ ที่รอเข้าคิวตรวจ ท่ามกลางความเครียดของพ่อแม่ผู้ปกครองที่กังวลกับอาการของลูกน้อย
รอกีเยาะ อาบู แม่ลูกอ่อนชาวจังหวัดยะลา เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่ต้องพาลูกน้องไปหาหมอ เนื่องจากติดโรคหัด รอกีเยาะ เล่าว่า ลูกสาวคนที่สองไม่สบาย หมอบอกว่าติดเชื้อเป็นหัด ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทั้งๆ ที่ลูกคนโตเพิ่งเป็นหัดได้ไม่นาน และเพิ่งได้ออกจากโรงพยาบาลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
"รู้สึกเครียดมาก เพราะเงินก็ไม่มี ลูกก็ไม่สบาย ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร นอกจากดูแลกันไป ยิ่งตอนนี้มีเด็กตายไปแล้ว คน ยิ่งทำให้รู้สึกกลัว"
ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ระบุว่า สถานการณ์โรคหัดล่าสุด ตั้งแต่วันที่ ก.ย.ถึง 11 ต.ค.61 มีผู้ป่วย 392 คน พบกระจายอยู่ทั้ง อำเภอของจังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิตแล้ว คน โดยการระบาดของโรคอยู่ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ปี
จำนวนผู้ป่วยแยกเป็นรายอำเภอ คือ อ.ยะหา 103 ราย อ.บันนังสตา 57 ราย อ.ธารโต 56 ราย อ.กาบัง 53ราย อ.กรงปีนัง 49 ราย อ.เมืองยะลา 43 ราย อ.รามัน 24 ราย และ อ.เบตง ราย
สำหรับเด็กที่เสียชีวิต เป็นผู้ป่วยจาก อ.กรงปินัง ราย อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต อำเภอละ ราย
นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา บอกกับ "ทีมข่าวอิศรา" ว่า พื้นที่ระบาดหนักที่สุดมี อำเภอ คือ อ.ยะหา อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณการรับวัคซีนต่ำ แต่ยืนยันว่าจนถึงขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดได้ระดับหนึ่งแล้ว เพราะจำนวนผู้ป่วยใหม่ลดลง
"ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินฯโรคหัดขึ้น พร้อมทั้งได้ควบคุมการระบาดของโรคด้วยมาตรการ 323 คือ 'หาให้ครบ ฉีดให้ทันโดยการลงพื้นที่เชิงรุก ดำเนินการวินิจฉัยโรคให้เร็ว แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทราบภายใน ชั่วโมงเพื่อสอบสวนโรค หาผู้สัมผัสโรคให้ครบภายใน วัน และดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้สัมผัสโรคภายใน วัน" นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าว
สำหรับสาเหตุของการระบาด มาจากการไม่รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากประชาชนบางส่วน โดยเฉพาะพี่น้องมุสลิมเข้าใจผิดว่าวัคซีนผลิตจากส่วนประกอบของหมู จึงปฏิเสธการรับวัคซีน ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง
นพ.สงกรานต์ ย้ำว่า ขณะนี้มีคำแถลงชี้แจงจากจุฬาราชมนตรีออกมาแล้ว ขณะที่ทางสาธารณสุขจังหวัดก็พยายามลงพื้นที่ไปทำความเข้าใจ โดยเฉพาะกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของเด็ก เพื่อให้ยินยอมพาเด็กมารับวัคซีน
"วัคซีนโรคหัดที่นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ไม่มีส่วนประกอบมาจากหมู เป็นวัคซีนที่มีการใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศมุสลิมอย่างประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย นอกจากนี้วัคซีนยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคได้"
"ขอเน้นย้ำให้ประชาชนที่มีบุตรหลานที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคหัด มารับการฉีดวัคซีนโดยด่วนที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และหากเด็กในปกครองมีไข้ ไอ มีผื่นแดงและตาแดง ให้แยกเด็กออก ไม่ให้สัมผัสกับเด็กอื่นเป็นระยะเวลา สัปดาห์ และในกรณีที่ในบ้านที่มีเด็กสัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วย หากไม่ได้รับวัคซีนหรือฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ให้ผู้ปกครองนำเด็กไปฉีดวัคซีนให้ครบ หรือในกรณีของเด็กนักเรียน หากมีอาการข้างต้นให้หยุดอยู่บ้าน เป็นระยะเวลา สัปดาห์เช่นกัน" นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ระบุ
"โรคหัด" เป็นโรคไข้ออกผื่น จริงๆ แล้วพบได้ทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กเล็ก อายุ 1-6 ปี เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อกันได้ง่ายมากโดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด อาการของโรคหัด เริ่มจากมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง อาการต่างๆ จะมากขึ้นพร้อมกับไข้ที่สูงขึ้น และจะสูงขึ้นเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ ลักษณะผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้นๆ อาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็กคือ หูส่วนกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง สมองอักเสบ พบได้ประมาณ ใน 1,000 ราย ซึ่งจะทำให้พิการ หรือเสียชีวิตได้
ปัจจุบันโรคหัดป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ เมื่อเด็กอายุ ปีครึ่ง
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้อีก จังหวัด คือ ปัตตานี และนราธิวาส พบผู้ป่วยบ้างเหมือนกัน แต่ยังไม่ถึงขั้นระบาด โดยปัตตานีพบผู้ป่วย 58 ราย นราธิวาส 19 ราย

จริงๆ แล้วปัญหาด้านสุขภาวะและสาธารณสุข เป็นปัญหาหนักมากในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมาองค์การยูนิเซฟ เคยเผยแพร่รายงานการศึกษาจากในพื้นที่ พบว่าเด็กๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในภาวะขาดสารอาหาร หรือ "ทุพโภชนาการ" สูงที่สุดในประเทศ ขณะเดียวกันก็มีอัตราการรับวัคซีนป้องกันโรคต่ำที่สุดในประเทศ (อ่านประกอบ : เด็กชายแดนใต้ขาดสารอาหาร แถมเสี่ยงเอดส์!)

12 ตุลาคม 2561

จาก "พล.อ.อักษรา " เป็น "พล.อ.อุดมชัย" คปต.ชงเปลี่ยนหัวหน้าพูดคุยดับไฟใต้

การประชุม คปต. หรือคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันนี้ (11 ต.ค.61) กลายเป็นการประชุมที่มีประเด็นสำคัญ เพราะมีการเคาะเปลี่ยนตัวหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะมีการเสนอชื่อให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจขั้นสุดท้ายเร็วๆ นี้
ที่ประชุม คปต.มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน มีวาระพิจารณาหลายเรื่อง และหนึ่งในนั้นคือการพิจารณาปรับโครงสร้างคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากมาเลเซียเปลี่ยนผู้นำรัฐบาล และเปลี่ยนตัวผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยคนใหม่
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอให้เปลี่ยนตัวหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ จาก พล.อ.อักษรา เกิดผลที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็น พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 โดยจะมีการนำเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิจารณาตัดสินใจอีกครั้ง โดยเรื่องนี้ต้องได้ข้อสรุปก่อนที่ดร.มหาธีร์ โมฮาหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในช่วงปลายเดือน ต.ค. เพราะจะมีวาระหารือกันของผู้นำทั้งสองประเทศเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯด้วย
         ที่ผ่านมามีข่าวมาตลอดว่ารัฐบาลไทยอาจพิจารณาเปลี่ยนตัวหัวหน้าคณะพูดคุยฯ จาก พล.อ.อักษรา เป็นบุคคลอื่น เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการพูดคุยใหม่ที่จะมีขึ้นหลังได้ตัวผู้อำนวยความสะดวกคนใหม่ที่เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลมาเลย์ ซึ่งก็คือ ตัน สรี อับดุลราฮิม บิน โมห์ด นูร์ (อับดุลราฮิม นูร์) คนสนิทของ ดร.มหาธีร์ โดยรูปแบบการทำงานของ อับดุลราฮิม นูร์ ก็มีทิศทางปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะพูดคุยฯฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐ เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับ "กลุ่มบีอาร์เอ็น" มากขึ้น เพราะเชื่อกันว่า "บีอาร์เอ็น" เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อกลุ่มติดอาวุธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
          ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือมาเป็นระยะว่า ทางการมาเลเซียก็ส่งสัญญาณให้รัฐบาลไทยเปลี่ยนตัวหัวหน้าคณะพูดคุยฯ จาก พล.อ.อักษรา เป็นคนอื่น
          พล.อ.อักษรา ทำหน้าที่หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ มาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.58 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 259/2558 เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 3 ปีแล้ว โดยผลสำเร็จสูงสุดจากกระบวนการพูดคุยก็คือ การบรรลุข้อตกลงเรื่อง "พื้นที่ปลอดภัย" นำร่องอำเภอแรกร่วมกัน แม้ภายหลังฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐที่รวมตัวกันมาในชื่อ "มารา ปาตานี"จะไม่ยอมส่งตัวแทนเข้าร่วมในกระบวนการจัดทำ "พื้นที่ปลอดภัย" ก็ตาม
ขณะที่ พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ เป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 53-56 เป็นผู้ริเริ่มโครงการ "พาคนกลับบ้าน" ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นอดีตนายทหารที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาชายแดนใต้มากที่สุดคนหนึ่ง

10 ตุลาคม 2561

คืน “รอยยิ้ม+ความสุข” สู่ครอบครัว

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. สืบเนื่องจาก พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ประกาศยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ 20 ปี โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ในการดูแลพื้นที่ให้ปลอดภัย สร้างความเข้าใจต่อประชาชนนอกเหนือจากการป้องกันแก้ปัญหาการก่อเหตุรุนแรงของกลุ่มก่อความไม่สงบ ได้เพิ่มอีกหนึ่งนโยบาย ดำเนินการอย่างเร่งด่วนควบคู่คือ การแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดภายใน 3 เดือนแรก เนื่องจากพี่น้องประชาชนต่างเป็นห่วงลูกหลานที่ตกเป็นทาสของยาเสพติดนับวันเพิ่มเป็นจำนวนมาก และต่างจับตารอคอยความหวังเห็นการกวาดล้างยาเสพติดให้สิ้น จับผู้ค้าดำเนินคดีอย่างเฉียบขาดและแยกเสพบำบัดเพื่อคืนคนดีสู่สังคม

นางนิแย (สงวนนามสกุล)  อายุ 54 ปี ชาวบ้านใน อ.เมืองปัตตานี กล่าวถึงลูกชายที่กว่าจะหลุดจากวงจรยานรกมาได้จากถูกเพื่อนชักจูง  ก็จะถามลูกตลอดว่าไปไหน พอรู้มาว่าน่าจะไปข้องแวะเรื่องยาเสพติด คนเป็นแม่กลุ้มใจและเสียใจอยู่ตลอดเวลา หวั่นลูกชายจะเสียอนาคต กระทั่งลูกชายเข้าค่ายโครงการศูนย์ขวัญแผ่นดิน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและฝึกอาชีพรู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก 

ทุกคืนได้ขอพรให้ลูกกลับมาพ้นจากยาเสพติด ทุกวันนี้ลูกกลับมาเป็นลูกแม่อีกครั้ง เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือและดีมากหากแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เข้ามาดูแลเรื่องปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง เพราะมีอีกหลายครอบครัวที่ทุกวันนี้บุตรหลานตนเองยังคงตกเป็นทาสยาเสพติด ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการจริงจังกับการเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาตรงนี้ร่วมกับพ่อแม่และผู้นำชุมชน

8 ตุลาคม 2561

ดร.มหาธีร์ "เยือนไทยปลายตุลาคม เดินหน้าพูดคุยดับไฟใต้"


นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มีกำหนดการเดินทางเยือนไทยช่วงปลายเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะมีการหารือเพื่อเดินหน้ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้หลังจากหยุดชะงักมาระยะหนึ่งด้วย 
 ดร.มหาธีร์ โมฮาหมัด นายกรัฐมนตรีวัย 93 ปีของมาเลเซีย เตรียมเดินทางเยือนไทยช่วงปลายเดือน ตุลาคม ภายหลังนำพรรคฝ่ายค้านชนะเลือกตั้ง และก้าวขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ตั้งแต่ช่วงเดือน พฤษภาคม เป็นต้นมา
          การเดินทางมาไทยรอบนี้นอกจากจะเป็นการเยือนตามธรรมเนียมเมื่อมีการเปลี่ยนผู้นำประเทศในอาเซียนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดกันแล้ว ดร.มหาธีร์ ยังมีวาระหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เกี่ยวกับการเดินหน้ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขด้วย
          ช่วงปลายเดือน กันยายน ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า ปลายเดือนตุลาคมจะมีโอกาสได้พบกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเพื่อหารือกัน และจะดำเนินกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งยังบอกว่ารัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาตลอด โดยได้เปลี่ยนตัวผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยคนใหม่ ขณะที่ฝ่ายไทยก็กำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเหมาะสม
          การเปลี่ยนตัวผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยคนใหม่ เกิดขึ้นในช่วงเดือน สิงหาคม ที่ผ่านมา โดย ดร.มหาธีร์ ได้ลงนามแต่งตั้ง ตัน สรี อับดุล ราฮิม บิน โมห์ด นูร์ (Tan Sri Abdul Rahim bin Mohd. Noor) อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลมาเลเซีย เข้ามาทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวกฯคนใหม่ แทน ดาโต๊ะ สรี อะหมัด ซัมซามิน ฮาซิม ซึ่งสนิทสนมกับอดีตนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค ทั้งยังทำหน้าที่มานานตั้งแต่ปี 55 โดยรัฐบาลมาเลเซียอ้างว่าหมดวาระการทำหน้าที่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 61
          หลังรับตำแหน่งผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยคนใหม่ ได้ไม่นาน ตัน สรี อับดุล ราฮิม ได้นัดหมายแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นที่พำนักอยู่ในมาเลเซีย 5 กลุ่ม จำนวนประมาณ 20 คน เข้าพบ ณ สถานที่แห่งหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย เพื่อหารือแนวทางการดำเนินกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขต่อไป โดยแกนนำบีอาร์เอ็น 1 ใน 5 กลุ่มนี้ มีชื่อ นายดูนเลาะ แวมะนอ อดีตครูใหญ่โรงเรียนปอเนาะญิฮาด ซึ่งฝ่ายความมั่นคงไทยเชื่อว่าเป็นผู้นำสูงสุดของบีอาร์เอ็นในปัจจุบันรวมอยู่ด้วย แต่ปรากฏว่า นายดูนเลาะ ไม่ได้เดินทางไปตามนัด
          มีรายงานด้วยว่า หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยคนใหม่ ตัน สรี อับดุล ราฮิม เคยเดินทางมาไทยอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อพูดคุยกับผู้มีอำนาจฝ่ายไทยในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ท่ามกลางกระแสข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนตัวคณะพูดคุยฝั่งผู้เห็นต่างจากรัฐ โดยลดบทบาทของกลุ่ม"มารา ปาตานี" ลง และเพิ่มพื้นที่ให้กับกลุ่มบีอาร์เอ็นมากขึ้นแทน เพราะเชื่อว่ามีอิทธิพลกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยมากกว่า


5 ตุลาคม 2561

ฟันธงกลุ่มโจรใต้ฆ่าสองแม่ลูก รัฐจ่ายเยียวยา 1 ล้าน


ตำรวจตั้งข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าเหตุการณ์คนร้ายบุกยิงสองแม่ลูกจนเสียชีวิตคาร้านน้ำชาใน อ.ทุ่งยางแดง เป็นการกระทำของกลุ่มก่อความไม่สงบ ขณะที่รองผู้ว่าฯปัตตานี มอบเงินเยียวยาให้ทายาททันที 1 ล้านบาท
  เหตุร้ายครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันพฤหัสบดีที่ 4 ต.ค.61 น.ส.อารมย์ จอมเพ็ชร อายุ 48 ปี และ นายกวินท์ ชวิศสกุล อายุ 27 ปี ซึ่งเป็นแม่ลูกกัน ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนพกสั้นจ่อยิงขณะนั่งในร้านน้ำชาเพื่อรับประทานอาหาร ในพื้นที่บ้านควน ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ทำให้ น.ส.อารมย์ เสียชีวิตคาที่ ส่วน นายกวินท์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส และสิ้นใจระหว่างนำส่งโรงพยาบาลทุ่งยางแดง
          หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครองได้นำกำลังรุดไปตรวจสอบ และสอบสวนจนทราบว่า น.ส.อารมย์ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ส่วนนายกวินท์ ลูกชาย ยังเป็นนักศึกษา เรียนอยู่กรุงเทพฯ ช่วงปิดเทอมก็ลงมาเยี่ยมแม่ และช่วยงานแม่ออกตรวจไซต์งานก่อสร้างในพื้นที่ โดยก่อนเกิดเหตุ ทั้งคู่กำลังเดินทางไปทำงาน และแวะรับประทานอาหารเช้าที่ร้านน้ำชา จังหวะนั้นเองคนร้ายซึ่งมากัน 4 คนและคาดว่าสะกดรอยตามผู้ตายมาก่อนแล้ว ได้จอดรถจักรยานยนต์บริเวณหน้าร้าน แล้วใช้อาวุธปืนพกสั้นที่เตรียมมายิงใส่สองแม่ลูก ทำให้เสียชีวิตดังกล่าว เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการกระทำของผู้ก่อเหตุรุนแรง
    ช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายพงศ์เทพ ไข่มุกด์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย นายอับดุลการีม ยีดำ นายอำเภอทุ่งยางแดง นายธำรงศ์ แสงสุวรรณ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือเยียวยาจังหวัดปัตตานี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้มอบเงินช่วยเหลือเยียวยาให้ทายาทของ น.ส.อารมย์ และ นายกวินท์ เป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยไปมอบกันที่โรงพยาบาลทุ่งยางแดงอย่างรวดเร็ว
  เหตุรุนแรงครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลัง พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ แถลงนโยบายเสริมสร้างสันติสุขชายแดนใต้ได้เพียง 1 วัน ที่อาคารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดย พล.ท.พรศักดิ์ แถลงตอนหนึ่งว่า จะเน้นการแก้ปัญหายาเสพติดในทุกพื้นที่ เพราะสิ่งนี้คือสาเหตุต้นๆ ของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกำหนดกรอบเวลา 3 เดือน มั่นใจว่าปัญหายาเสพติดในพื้นที่จะดีขึ้นอย่างแน่นอน ส่วนการทำพื้นที่ให้ปลอดภัย จะดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเครือข่าย
          พล.ท.พรศักดิ์ ยังเน้นย้ำด้วยว่า การทำงานนับจากนี้ไป ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น และช่วยกันทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่ติดยึดศาสนา ประเพณี เพราะคนไทยทุกคนมีความเท่าเทียมกัน หน่วยราชการต้องเลือกคนดีมาปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ไม่มีการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความระแวง

รอง ผวจ.ปัตตานีมอบเงินเยียวยาครอบครัวสองแม่ลูกที่ถูกยิงเสียชีวิตในร้านน้ำชาที่ปัตตานี


   ปัตตานี - นายพงศ์เทพ ไข่มุกด์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย นายอับดุลการีม ยีดำ นายอำเภอทุ่งยางแดง นายปริวัตร เกื้อหนู ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายธำรงศ์ แสงสุวรรณ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือเยียวยาจังหวัดปัตตานี นายประภักดิ์ เขียวดำ ปลัดอำเภอรับผิดชอบงานเยียวยา เจ้าหน้าที่เยียวยาอำเภอจังหวัดปัตตานี มอบเงินช่วยเหลือเยียวยา ให้ทายาทของ น.ส.อารมย์ จอมเพ็ชร และ นายกวินท์ ชวิศสกุล คือ นายเปรมศักดิ์ จอมเพ็ชร และ นายประสงค์ ไชยวีระ จำนวน 1,000,000 บาท จากเหตุคนร้ายลอบยิงขณะกำลังซื้ออาหารในร้านน้ำชาบ้านพิเทน หมู่ที่ 2 ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 เวลาประมาณ 08.30 น. ได้มีกลุ่มคนร้ายไม่ทราบชื่อและจำนวน ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาดยิงราษฎรขณะกำลังซื้ออาหารในร้านน้ำชา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย ดังนี้
1.นางสาวอารมย์ จอมเพ็ชร อายุ 46 ปี เลขประจำตัวประชาชน 3-7607-00135-87-0 อยู่บ้านเลขที่ 2 ซอย 3 ถนนเทศบาล 1 อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
2.นายกวินท์ ชวิศสกุล อายุ 27 ปี เลขประจำตัวประชาชน 1-9599-00279-38-7 อยู่บ้านเลขที่ 8/8 ซอยรามคำแหง 164 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิตที่โรงพยาบาลทุ่งยางแดง เหตุเกิด บริเวณร้านน้ำชาบ้านพิเทน หมูที่ 2 ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง
 นางสาวอารมย์ จอมเพ็ชร

นายกวินท์ ชวิศสกุล

ในส่วนของคดีทางเจ้าหน้าที่กำลังเร่งหาเบาะแสคนร้ายที่ก่อเหตุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มขบวนการหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าทราบแล้วเป็นกลุ่มไหน คาดคนร้ายยังคงหลบหนีอยู่ในพื้นที่ หากประชาชนท่านใดพบเบาะแสหรือพบบุคคลแปลกหน้าในพื้นที่กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

4 ตุลาคม 2561

ประชาชนชาวไทยพุทธปัตตานี พร้อมสนับสนุนแม่ทัพภาคที่ 4 เดินหน้าแก้ปัญหาไฟใต้


เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 เวลา 15.15 น. ที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร ตำบลตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี มีพี่น้องประชาชนชาวไทยพุทธในพื้นที่จังหวัดปัตตานีจำนวนกว่า 400 คนพร้อมด้วยส่วนราชการให้การต้อนรับ พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในโอกาสเดินทางลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับพี่น้องประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธในพื้นที่ปัตตานี เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะรวมถึงปัญหาข้อขัดข้องจากตัวแทนชาวไทยพุทธในพื้นที่ สำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัด 5 อำเภอ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกศาสนา สามารถดำเนิดชีวิตอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างปลอดภัยและมีความสุข


โอกาสนี้แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ให้ความมั่นใจกับประชาชนที่มาต้อนรับเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า พร้อมจัดการกับทุกปัญหา เพื่อนำสันติสุขกลับคืนมาโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆทั้งเรื่องการ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการอำเภอทั้ง 37 อำเภอดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมงรวมถึงความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆซึ่งการ มาพบปะกับพี่น้องประชาชนในครั้งนี้เหตุผลสำคัญก็คือการขอการสนับสนุนและความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่เรื่องการช่วยเหลือป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้หมดไปจากหมู่บ้านชุมชนซึ่งพี่น้องประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ ต่างยกมือให้การสนับสนุนและพร้อมจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกันกับแม่ทัพภาคที่ 4 และหน่วยงานทุกภาคส่วน

3 ตุลาคม 2561

แม่ทัพภาคที่ 4 แถลงร่วมแก้ไขปัญหาพื้นที่ร่วมกับทุกภาคส่วนภายใต้ “กรอบกฎหมายและแนวทางสันติวิธี”


เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานในการประชุมแถลงแผนนโยบายการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2562 โดยมีผู้บังคับหน่วยในพื้นที่ เข้าร่วมรับฟังนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีงบประมาณ 2562  

ภายหลังการประชุมแถลงแผนนโยบายการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2562 พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงนโยบาย แนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปีงบประมาณ 2562 ว่า จะยึดมั่นนโยบายรัฐบาลในกรอบยุทธศาสตร์ชาติความมั่นคง 20 ปี และยึดหลักตามแนวทางของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร คือ การใช้ยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วมดูแลพื้นที่ให้ปลอดภัย โดยเน้น 8 หัวเมืองหลัก รวมถึงการสร้างความเข้าใจต่อประชาชนทั้งในประเทศและนานาชาติ เพื่อให้ทุกคนทุกฝ่ายได้เข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ส่วนในด้านการพัฒนานั้นจะเดินหน้านโยบายสามเหลี่ยมเศรษฐกิจของรัฐบาล ควบคู่กับการใช้ศาสตร์พระราชา เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ในด้านการสร้างความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชนจะเน้นการบูรณาการกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชนส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่ จะใช้ยุทธศาสตร์คนดี ทุกหน่วย จะต้องคัดคนดีมาปฏิบัติงาน และไม่สร้างเงื่อนไข        

สำหรับงานเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อพี่น้องประชาชนคือการเดินหน้าแก้ไขปัญหายาเสพติด เพราะจากการลงพื้นที่พูดคุยกับประชาชนและหน่วยงานต่างๆ มีความเห็นตรงกันว่าต้องการให้มีการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมพร้อมประสานกับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำลูกหลานที่ติดยาเสพติดกลับคืนสู่สังคม โดยการบำบัดรักษาและฝึกอาชีพ ส่วนผู้ค้าก็จะดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในช่วงสามเดือนแรกควบคู่กับการทำพื้นที่ให้ปลอดภัย โดยมีหัวใจหลักคือ การตั้งศูนย์ปฏิบัติการอำเภอทั้ง 37 อำเภอ โดยมี นายอำเภอ ผู้กำกับการสถานีตำรวจหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข และภาคประชาชน รวมถึงผู้นำศาสนาและผู้นำท้องที่ท้องถิ่นต่างๆ มาร่วมกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ร่วมกัน ภายใต้กรอบกฎหมายและแนวทางสันติวิธี

             “ผมเชื่อมั่นว่าประสบการณ์ที่ผมได้รับมาจากการทำงาน และคนที่มาช่วยกันทำงานด้วยความจริงใจในการแก้ไขปัญหาจะนำพาไปสู่การแก้ไขปัญหาได้” พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4  กล่าวทิ้งท้ายเพื่อให้ความมั่นใจแก่พี่น้องประชาชน

คนร้ายดักยิงผอ.โรงเรียนที่ปัตตานี


ผอ.โรงเรียนที่ปัตตานีดวงแข็ง ถูกโจรใต้ดักยิงแต่ยิงสวนกลับจนคนร้ายหนีกระเจิง แต่ยังเจออีกกลุ่มตามยิงด้วยอาก้ารอดตายหวุดหวิด ตร.เชื่อคนร้ายหวังสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 1 ต.ค.2561 ร.ต.ท.ตุลากร สุริยวงศ์ รอง สว.สภ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งเหตุคนร้ายซุ่มยิงบุคลากรทางการศึกษา เหตุเกิดบริเวณถนนในหมู่บ้าน ต.พ่อมิ่ง ม.3 อ.ปะนาเระ นำกำลังไปตรวจสอบพร้อมด้วย พ.ต.ท.ปภาณ จันทร์กลับ รอง ผกก.ป. ไปถึงพบเพียงรถ จยย.ยี่ห้อฮอนด้า กจ 6460 ปัตตานี ซึ่งเป็นของคนร้ายล้มอยู่กลางถนน และพบปลอกกระสุนอาก้าอยู่ข้างทาง แต่ไม่พบผู้เสียหาย ทราบว่าช่วงเกิดเหตุได้ขับรถยนต์หลบหนี ทราบชื่อภายหลัง คือ นายถวิล แซ่ฮ่ำ อายุ 59 ปี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด


สอบสวนทราบว่า ขณะที่ นายถวิล ขับรถเก๋งส่วนตัว ยี่ห้อมิตซูบิชิ ทะเบียน ก 5829 ปัตตานี ออกจากบ้านพัก เพื่อเดินทางไปโรงเรียน ระหว่างทางถึงที่เกิดเหตุได้มีคนร้าย 2 คน ขับขี่รถ จยย.ขับตามหลังแล้วใช้อาวุธปืนยิงใส่ นายถวิลจึงใช้อาวุธปืนยิงสวนกลับ 2 นัดทำให้รถ จยย.ของคนร้ายล้มลงและวิ่งหนีเข้าไปในป่า จากนั้นระหว่างที่นายถวิลกำลังเร่งเครื่องหนี รถได้เหยียบตะปูเรือใบที่คนร้ายโปรยบนถนน ทำให้ล้อรถด้านหน้าขวาแตก คนร้ายอีกกลุ่มซุ่มในป่าข้างทาง ได้ใช้อาวุธปืนอาก้ากราดยิงใส่นายถวิลอีกชุด แต่กระสุนพลาดเป้า นายถวิลจึงเร่งเครื่องหลบหนีไปที่โรงเรียนอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนนายถวิลปลอดภัย

28 กันยายน 2561

ศาลมาเลเซีย..สั่งจำคุกชายไทยสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายอาร์รายาห์

ศาลมาเลเซียตัดสินจำคุก ชายสัญชาติไทย เป็นเวลา 1 ปี โดยเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ที่เรียกว่า อาร์รายาห์ (Ar Rayah) ในประเทศมาเลเซีย แต่ถูกศาลจำคุก ในข้อหาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนดอนุญาต หลังจากที่เขารับสารภาพ
นิฮ็อก นิเฮ วัย 50 ปี อาศัยอยู่ในเขตปาเซร์ ปูเตห์ (Pasir Puteh) ทางตอนเหนือของรัฐกลันตัน ที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมปีนี้
นายนิฮ็อก ถูกตั้งข้อหาว่าอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเกินกำหนดอนุญาต โดย โมห์ด ยูโซฟฟ์ ยูนัส ผู้พิพากษาของศาลในเขต ปาเซร์ มาส ภายใต้มาตรา 15 (1) (c) ของพระราชบัญญัติการเข้าเมืองแห่งถิ่นที่อยู่ 1959/63 ซึ่งมีโทษปรับสูงสุด RM 10,000 ริงกิตมาเลย์ (หรือประมาณ 78,155 บาท) หรือจำคุกห้าปี หรือทั้งจำและปรับ โดยผู้พิพากษาได้สั่งจำคุก นายนิฮ็อก เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ถูกจับกุม ที่เรือนจำมาชัง ในรัฐกลันตัน และสั่งให้เนรเทศกลับประเทศตนหลังจากได้รับโทษครบกำหนด
นายนิฮ็อก มีท่าทีสงบต่อหน้าศาล โดยไม่มีทนายความช่วยเหลือในคดี และไม่มีสมาชิกครอบครัวเข้าร่วมฟังในศาล
ก่อนหน้านี้ นายนิฮ็อก เดินทางมาถึงภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด จากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามและต่อต้านการก่อการร้ายประจำรัฐ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนกล่าวต่อศาลว่า ภรรยาของนายนิฮ็อก ที่อยู่ในจังหวัดปัตตานี ตอนใต้ของประเทศไทยได้รับแจ้งถึงเรื่องการดำเนินคดี ในวันพฤหัสบดีนี้แล้ว
นายนิฮ็อก เป็นหนึ่งในห้าคน ที่ถูกกล่าวหาว่าเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งถูกคุมขังภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายการและการรักษาความปลอดภัย (มาตรการพิเศษ 2012) พ.ศ. 2555 หรือ Sosma ในข้อหาเป็นสมาชิกขบวนการการก่อการร้ายใน WhatsApp ที่เรียกว่า “อาร์รายาห์” (Ar-Rayah)
กลุ่มดังกล่าวต้องการที่จะก่อปัญหา ในจุดศูนย์กลางที่สำคัญๆ ของรัฐเคดาห์, ปีนัง และมะละกา
โดยการสืบสวนสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ชายไทยผู้นี้ ได้รู้จักกับ ต็อก เซอร์บัน (Tok Serban) ในเฟสบุ๊ค เมื่อสามเดือนที่แล้ว ผู้ซึ่งแสดงความประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวมุสลิมที่ถูกกดขี่ เด็กกำพร้าและมารดา หม้ายที่เลี้ยงลูกคนเดียว ในปัตตานี
นายนิฮ็อก สนใจข้อเสนอของ ต็อก เซอร์บัน และให้หมายเลขโทรศัพท์มือถือของเขา ซึ่งถูกแจ้งรวมอยู่ในกลุ่ม "WhatsApp" ของอาร์รายาห์ ด้วย
จากข้อมูลของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเชื่อว่า นายนิฮ็อก เป็นสมาชิกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนจากชายแดนใต้ของไทย โดยแหล่งข่าวระบุว่า กลุ่มดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีมาเลเซีย เป็นผู้อำนวยความสะดวก

"ผู้ต้องสงสัย (นายนิฮ็อก) ยังได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อร่วมบริจาคเงินในการซื้ออาวุธปืนและกระสุนปืน" เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนกล่าวในการแถลงข่าว เมื่อวันที่ 14 กันยายน "ตำรวจได้ตรวจยึดระเบิดควันห้าลูก ขณะบุกเข้าจับกุมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มอาร์รายาห์"
แหล่งข่าวที่รู้เรื่องคดีนี้ดี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถหาหลักฐานชี้ชัดในข้อหาก่อการร้าย ของนายนิฮ็อก จึงทำให้เขาโดนข้อหาพระราชบัญญัติการเข้าเมืองแทน โดยแหล่งข่าวปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้

รัฐบาลมาเลเซียได้แต่งตั้ง นายอับดุล ราฮิม นูร์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซีย ให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกของมาเลเซีย ในการพูดคุยสันติสุข เพื่อประสานยุติความขัดแย้งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6,500 รายแล้ว ในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2547

31 สิงหาคม 2561

เอาอีกแล้วทีมงูเต๊ะ ล่า อส.ชาวบ้านโดนลูกหลงเสียชีวิต



เป็นที่รู้กันดีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ทีมงูเต๊ะคือชุดทำงานของโจรใต้มีหน้าที่ควบคุมมวลชนในแต่ละหมู่บ้านหรือตำบล ทีมงูเต๊ะ คอยก่อเหตุมาทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ให้กับกลุ่มขบวนการ เพื่อควบคุมมวลชนของแต่ละพื้นที่ไม่ให้เข้าร่วมมือกับรัฐรวมถึงรักษาผลประโยชน์ธุรกิจมืดให้กับกลุ่มขบวนการและบ่อยครั้งที่ทีมงูเต๊ะจำเป็นต้องเชือดไก่ให้ลิงดู ด้วยการมอบความตายให้กับชาวบ้าน เพื่อให้เกิดความรู้สึกกลัวจำใจต้องให้ความร่วมมือกับกลุ่มขบวนการหรือไม่ก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน ไม่รู้ไม่เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงไม่แปลกที่แต่ละคดีการจับกุมผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีตามกฎหมายต้องใช้เวลาหรือไม่ก็จับไม่ได้โดยทันทีซึ่งต่างจากคดีนอกพื้นที่ขณะที่ยังมีกลุ่มภาคประชาสังคม NGOs บางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวช่วยเหลือผู้ก่อเหตุคอยหยิบยกสร้างประเด็นความสับสนให้กับคนในพื้นที่ในสังคมตลอดเวลา เพื่อสร้างความรู้สึกลดความน่าเชื่อถือด้านกระบวนการความยุติธรรมของไทย
การล่าสังหาร อส. ของทีมงูเต๊ะ ล่าสังหาร อส.อายิบ มูดอ ที่มีการแบ่งหน้าที่กันทำงานด้วยการเฝ้าตรวจพฤติกรรมของนายอส.อายิบ มูดอ ซึ่งมันก็เหมือนกับการก่อเหตุของ RKK โดยเฉพาะคนที่รู้การเคลื่อนไหวก็คือคนในหมู่บ้านนั่นเอง ก่อนสบโอกาสสังหารนายอายิบ มูดอ ขณะที่กระสุนพลาดไปถูกผู้หญิง นางอามีเนาะ สามะ ขายของชำรวยบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา นำมาสู่การสูญเสียดังกล่าว ซึ่งการกระทำของโจรใต้ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจมากเพราะมีคนมากมายเดินซื้อของในตลาด ซึ่งก็คงเปรียบเสมือนการก่อเหตุตลาดพิมลชัย จ.ยะลา ที่โจรใต้ไปลอบวางระเบิดเขียงหมูทำให้ชาวบ้านเป็นผู้หญิงเสียชีวิต ชั่วทุกลมหายใจจริง ๆ 


จะสังเกตการณ์ก่อเหตุพบว่าในห้วงเดือนที่ผ่านมากลุ่มโจรใต้ได้เลือกก่อเหตุเจ้าหน้าที่ อส. เพราะถือว่าเป็นกำลังประจำถิ่นเป็นมุสลิมในพื้นที่ทำหน้าที่ให้กับรัฐ ซึ่งภายในเดือนนี้ อส.เสียชีวิตไปแล้ว 3 นาย ซึ่งก่อนหน้านี้ในสื่อออนไลน์พบว่าแนวร่วมปลุกระดมขู่ฆ่า อส. ตลอดเวลา พร้อมกับการแจ้งเตือนข่มขู่ อส. ต่าง ๆ นา ๆ จนทำให้ อส.ฮากิม ต้องออกมคลิปมาตอบโต้โจรใต้อย่างดุเดือด เมื่อ อส.หรือ กองกำลังประจำถิ่นมีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มากขึ้น เพราะ อส.ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ จึงกลายเป็นหนามยอกอกของกลุ่มขบวนการ พฤติกรรมชั่วเดิม ๆ ของกลุ่มขบวนการก็นำมาใช้กับพี่น้องมุสลิม นั้นก็คือการเลือกใช้ความรุนแรง การฆ่าคือสูตรสำเร็จของขบวนการโจรใต้นั่นเอง
วันนี้ (30 ส.ค.) พ.ต.อ.กีรติ ยูโซะ ผกก.สภ.เมือง จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนก่อเหตุยิงพ่อค้ากลางตลาดนัดชุมชนบ้านกรือเซะ บริเวณ ม.3 ต.ตันหยงลุโล๊ะ อ.เมืองปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 ราย และได้รับบาดเจ็บอีก 2 ราย ทราบชื่อผู้เสียชีวิตคือ นายอายิ มูดอ อายุ 55 ปี ตำแหน่งอาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดปัตตานี ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเป็นสุภาพสตรี 2 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลปัตตานี
จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุผู้ตายกำลังยืนขายสินค้ากิปต์ชอปกลางตลาดนัดชุมชนบ้านกรือเซะ ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงสาย 42 ปัตตานี-นราธิวาส บริเวณ ม.3 ต.ตันหยงลุโล๊ะ ด้านหน้ามัสยิดโบราณกรือเซะ ในระหว่างที่มีลูกค้ากำลังมุงดูชมสินค้าอยู่นั้น ได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนแฝงมากับชาวบ้านที่เดินตลาด เข้ามาประชิดจ่ออาวุธยิงที่ศีรษะ จำนวน 2 นัดซ้อน จนล้มลงเสียชีวิตคาที่ และกระสุนพลาดไปถูกชาวบ้านได้รับบาดเจ็บอีก 2 ราย จากนั้นคนร้ายยังได้หยิบอาวุธปืนพกสั้นประจำกายผู้ตายขนาด .357 พาหลบหนีไป