18 ตุลาคม 2561

รัฐติวเข้มปัญหาสุขภาวะชายแดนใต้ หลังโรคหัดระบาดใหญ่ตาย 5

รองนายกรัฐมนตรี และผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ เตรียมลงพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อประชุมใหญ่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หลังเกิดการระบาดของโรคหัดในเด็ก ทำให้มีเด็กเสียชีวิต 5 ราย ติดเชื้อและป่วยอีกเกือบครึ่งพัน
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นัดกันลงพื้นที่วันที่ 19 ต.ค.นี้ พร้อมเรียกประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งสามจังหวัด ที่สำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย จังหวัดปัตตานี เพื่อเร่งรัดหามาตรการป้องกันปัญหาการระบาดของโรค ตลอดจนปัญหาสุขภาวะในภาพรวมของพื้นที่ด้วย
การระบาดของ "โรคหัด" ไม่ควรเกิดขึ้นอีกแล้วในบ้านเรา เพราะประเทศไทยเตรียมประกาศให้โรคหัดหมดไปจากประเทศภายในปี 2563 ตามพันธะสัญญานานาชาติ
แต่ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมากลับมีเด็กป่วยจากโรคหัดจำนวนมาก ที่โรงพยาบาลเต็มไปด้วยเด็กๆ ที่รอเข้าคิวตรวจ ท่ามกลางความเครียดของพ่อแม่ผู้ปกครองที่กังวลกับอาการของลูกน้อย
รอกีเยาะ อาบู แม่ลูกอ่อนชาวจังหวัดยะลา เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่ต้องพาลูกน้องไปหาหมอ เนื่องจากติดโรคหัด รอกีเยาะ เล่าว่า ลูกสาวคนที่สองไม่สบาย หมอบอกว่าติดเชื้อเป็นหัด ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทั้งๆ ที่ลูกคนโตเพิ่งเป็นหัดได้ไม่นาน และเพิ่งได้ออกจากโรงพยาบาลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
"รู้สึกเครียดมาก เพราะเงินก็ไม่มี ลูกก็ไม่สบาย ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร นอกจากดูแลกันไป ยิ่งตอนนี้มีเด็กตายไปแล้ว คน ยิ่งทำให้รู้สึกกลัว"
ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ระบุว่า สถานการณ์โรคหัดล่าสุด ตั้งแต่วันที่ ก.ย.ถึง 11 ต.ค.61 มีผู้ป่วย 392 คน พบกระจายอยู่ทั้ง อำเภอของจังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิตแล้ว คน โดยการระบาดของโรคอยู่ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ปี
จำนวนผู้ป่วยแยกเป็นรายอำเภอ คือ อ.ยะหา 103 ราย อ.บันนังสตา 57 ราย อ.ธารโต 56 ราย อ.กาบัง 53ราย อ.กรงปีนัง 49 ราย อ.เมืองยะลา 43 ราย อ.รามัน 24 ราย และ อ.เบตง ราย
สำหรับเด็กที่เสียชีวิต เป็นผู้ป่วยจาก อ.กรงปินัง ราย อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต อำเภอละ ราย
นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา บอกกับ "ทีมข่าวอิศรา" ว่า พื้นที่ระบาดหนักที่สุดมี อำเภอ คือ อ.ยะหา อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณการรับวัคซีนต่ำ แต่ยืนยันว่าจนถึงขณะนี้สามารถควบคุมการระบาดได้ระดับหนึ่งแล้ว เพราะจำนวนผู้ป่วยใหม่ลดลง
"ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินฯโรคหัดขึ้น พร้อมทั้งได้ควบคุมการระบาดของโรคด้วยมาตรการ 323 คือ 'หาให้ครบ ฉีดให้ทันโดยการลงพื้นที่เชิงรุก ดำเนินการวินิจฉัยโรคให้เร็ว แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้ทราบภายใน ชั่วโมงเพื่อสอบสวนโรค หาผู้สัมผัสโรคให้ครบภายใน วัน และดำเนินการฉีดวัคซีนแก่ผู้สัมผัสโรคภายใน วัน" นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าว
สำหรับสาเหตุของการระบาด มาจากการไม่รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากประชาชนบางส่วน โดยเฉพาะพี่น้องมุสลิมเข้าใจผิดว่าวัคซีนผลิตจากส่วนประกอบของหมู จึงปฏิเสธการรับวัคซีน ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง
นพ.สงกรานต์ ย้ำว่า ขณะนี้มีคำแถลงชี้แจงจากจุฬาราชมนตรีออกมาแล้ว ขณะที่ทางสาธารณสุขจังหวัดก็พยายามลงพื้นที่ไปทำความเข้าใจ โดยเฉพาะกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของเด็ก เพื่อให้ยินยอมพาเด็กมารับวัคซีน
"วัคซีนโรคหัดที่นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย ไม่มีส่วนประกอบมาจากหมู เป็นวัคซีนที่มีการใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศมุสลิมอย่างประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย นอกจากนี้วัคซีนยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคได้"
"ขอเน้นย้ำให้ประชาชนที่มีบุตรหลานที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคหัด มารับการฉีดวัคซีนโดยด่วนที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และหากเด็กในปกครองมีไข้ ไอ มีผื่นแดงและตาแดง ให้แยกเด็กออก ไม่ให้สัมผัสกับเด็กอื่นเป็นระยะเวลา สัปดาห์ และในกรณีที่ในบ้านที่มีเด็กสัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วย หากไม่ได้รับวัคซีนหรือฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ให้ผู้ปกครองนำเด็กไปฉีดวัคซีนให้ครบ หรือในกรณีของเด็กนักเรียน หากมีอาการข้างต้นให้หยุดอยู่บ้าน เป็นระยะเวลา สัปดาห์เช่นกัน" นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ระบุ
"โรคหัด" เป็นโรคไข้ออกผื่น จริงๆ แล้วพบได้ทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กเล็ก อายุ 1-6 ปี เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อกันได้ง่ายมากโดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด อาการของโรคหัด เริ่มจากมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง อาการต่างๆ จะมากขึ้นพร้อมกับไข้ที่สูงขึ้น และจะสูงขึ้นเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ ลักษณะผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้นๆ อาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็กคือ หูส่วนกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง สมองอักเสบ พบได้ประมาณ ใน 1,000 ราย ซึ่งจะทำให้พิการ หรือเสียชีวิตได้
ปัจจุบันโรคหัดป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ เมื่อเด็กอายุ ปีครึ่ง
สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้อีก จังหวัด คือ ปัตตานี และนราธิวาส พบผู้ป่วยบ้างเหมือนกัน แต่ยังไม่ถึงขั้นระบาด โดยปัตตานีพบผู้ป่วย 58 ราย นราธิวาส 19 ราย

จริงๆ แล้วปัญหาด้านสุขภาวะและสาธารณสุข เป็นปัญหาหนักมากในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมาองค์การยูนิเซฟ เคยเผยแพร่รายงานการศึกษาจากในพื้นที่ พบว่าเด็กๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในภาวะขาดสารอาหาร หรือ "ทุพโภชนาการ" สูงที่สุดในประเทศ ขณะเดียวกันก็มีอัตราการรับวัคซีนป้องกันโรคต่ำที่สุดในประเทศ (อ่านประกอบ : เด็กชายแดนใต้ขาดสารอาหาร แถมเสี่ยงเอดส์!)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น