30 มีนาคม 2561

BRN vs มาราปัตตานี ศึกชิงบัลลังก์สุลต่านปาตานี



การเจรจาสันติสุขระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มมาราปัตตานี อาจถึงทางตัน เนื่องจากกลุ่มมาราปาตานีขู่ว่าจะไม่เดินหน้าต่อไปเรื่องแผนการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวสมาชิกกลุ่มของตนสามคนที่อยู่ในเรือนจำ โดยแหล่งข่าวที่ขอไม่เปิดเผยนามกล่าวว่า หากอนุญาตตามคำขอ จะไม่ถือเป็นการอภัยโทษ แต่จะเป็นการปล่อยตัวก่อนกำหนด แต่หากไม่อนุญาตตามคำขอ จะทำให้เรื่องการกำหนดพื้นที่ปลอดภัยหยุดชะงักลง

เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจให้แก่ BRN เป็นอย่างมากเพราะยังมีสมาชิกของ BRN จำนวนหนึ่งที่ยังถูกคุมขังในเรือนจำและไม่มีทีท่าว่าจะได้รับการปล่อยตัวอีกเช่นกัน รวมทั้งได้มีสมาชิกของกลุ่มในระดับปฏิบัติการที่เริ่มให้ความร่วมมือกับรัฐในโครงการพาคนกลับบ้านทำให้อำนาจการต่อรองของ BRN ลดลง เป็นเหตุให้สมาชิกระดับแกนนำ BRN ที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ยังคงปฏิเสธเข้าร่วมโต๊ะเจรจาสันติสุขครั้งนี้ และเลือกที่จะเดินหน้าก่อเหตุรุนแรงเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองของกลุ่มตนให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป

ด้วยความเลิ่กลั่กของมาราปัตตานีที่ไม่อาจจะเป็นผู้นำหรือหัวหอกของขบวนการต่างๆที่เคลื่อนไหวในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ของไทยโดยเฉพาะ BRN ได้ตามที่ตัวเองกล่าวอ้างกับไทย จึงทำการ “ซื้อเวลา” โดยการออกแถลงการณ์ตอบโต้แม่ทัพภาคที่4 เรื่องพื้นที่ safety zone ไปพลางๆ จนกว่าผู้นำทั้งหมดของ BRN ในพื้นที่ ตัดสินใจที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของมาราปัตตานีและร่วมพูดคุยในกระบวนการสันติภาพนี้

ทั้งนี้แหล่งข่าวของ BRN ทั้งนี้ กล่าวว่า กลุ่มยังมุ่งมั่นต้องการให้ปัตตานี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาดั้งเดิมของชาวมลายูที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ของไทยเป็นอิสรภาพ โดยการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนและสร้างความแตกแยกทางด้านศาสนา รวมทั้งทางกลุ่มไม่ได้คิดที่จะเข้าสู่การเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพกับไทยเลย แหล่งข่าวกล่าว

ยิ่งไปกว่านั้น การประชุมที่กำหนดไว้ระหว่าง พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะเจรจาของไทยและนายดุนเลาะห์ แวมะนอ แกนนำสูงสุดของ BRN ซึ่งจะมีขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ก็กลับทำให้กลุ่มมาราปัตตานีและ BRN ยิ่งขัดแย้งกันมากขึ้นไปอีกเนื่องจากแกนนำมาราปัตตานีมองว่ากลุ่มของตนเองอาจถูกลดบทบาทในการเจรจากับไทยไปให้แก่กลุ่ม BRN และจะทำให้กลุ่มของตนเสียผลประโยชน์จากการเจรจาสันติสุขในครั้งนี้

สุดท้ายแล้วดูเหมือนว่าการเจรจาสันติสุขในครั้งนี้อาจจะล่มลงไปอีกครั้ง จากการขาดเอกภาพของบรรดากลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เอง โดยแต่และกลุ่มก็มุ่งเน้นผลประโยชน์ของตนเองและยังบางกลุ่มโดยเฉพาะ BRN ยังเชื่อมั่นว่าการใช้กำลังและความรุนแรงต่อประชาชนเป็นทางแก้ไขของปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อยู่ นี่คืออีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลไทยต้องดำเนินการรวบรวมกลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ให้มาร่วมการเจรจาสันติสุขให้ได้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและแก้ไขปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ด้วยความยั่งยืนต่อไป
                                             --------------------------------------------
#ไม่มีโจรใต้ไม่มีความรุนแร

29 มีนาคม 2561

ปกป้องสิทธิไม่ผิดหรอก!! ปกป้องสิทธิ(โจร)สิผิดแน่!!




สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ  

สิทธิมนุษยชนจึงเป็นของทุกๆคนไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งหรือพวกใดพวกหนึ่ง และยิ่งสังคมไทยที่โดยพื้นฐานแล้วเป็นสังคมต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ การจะทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติจนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยกนั้น การคือการยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น แต่โจรใต้ก็ได้กระทำมาตลอดเป็นระยะเวลาหลาย 10 ปี โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งแยกชาติพันธุ์และศาสนา ในรูปแบบต่างๆทั้งรูปธรรมโดยการทำลายล้างความสงบสุข การก่อเหตุรุนแรงและสะเทือนขวัญ  หรือแม้กระทั่งในเรื่องนามธรรมโดยการปลุกระดม บิดเบือนความจริง สร้างความเกลียดชังและแตกแยกในสังคมไทย     
  
จริงอยู่ที่เป็นหน้าที่ของรัฐซึ่งจะต้องเข้ามาจัดการดูแลปัญหานี้ แต่เหล่าบรรดา NGO ที่ได้รับรายได้จากภาษีของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งชาติและได้รับจากองค์กรต่างประเทศ โดยเฉพาะ AMNESTY Thailand องค์กรที่ช่วยรัฐทำหน้าที่ตรงนี้ ให้เหตุการณ์รุนแรงได้สงบลง แต่กลับไม่เลย AMNESTY Thailand เลือกปฏิบัติในลักษณะมุ่งเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มคนเพียงกลุ่มหนึ่งและเลือกมองข้ามสิทธิมนุษยชนของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย โดยการเน้นช่วยเหลือเหล่าโจรใต้ที่เป็นตัวการและต้นตอในการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเอง 

อาจเพราะเป็น พวกเดียวกันหรือ AMNESTY Thailand จะถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยผู้ที่ไม่หวังดีต่อประเทศไทยหรือไม่ ถึงทำให้การทำงานขององค์กรนี้ส่วนใหญ่ดูจะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อโจรใต้ทั้งนั้น ยกตัวอย่างง่ายที่สุด เมื่อมีเหตุการณ์เกี่ยวกับการเสียประโยชน์ของโจรใต้ทั้งการโดนดำเนินคดี การกล่าวหารัฐในเรื่องการซ้อมทรมานนักโทษ หรือการที่จนท.ทหารเข้าไปตรวจสอบโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ AMNESTY Thailand ก็มักจะออกแถลงการณ์ตอบโต้รัฐในแทบจะทันทีทันใดและดำเนินการเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่เมื่อเกิดเหตุรุนแรงและสะเทือนขวัญโดยโจรใต้เช่นการวางระเบิดและลอบยิงที่นำมาซึ่งความสูญเสียของผู้บริสุทธิ์ ก็กลับนิ่งเป็นเป่าสาก ไม่มีแม้แต่คำพูดหรือการดำเนินการใดๆขององค์กรนี้เลย การบกพร่องในการทำงานขององค์กรนี้ จะเป็นด้วยเหตุผลทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ไม่อาจรู้ได้ แต่สิ่งที่ชัดเจนคือภาครัฐควรจะเข้าไปตรวจสอบการทำงานขององค์กรเหล่านี้ว่าคุ้มค่ากับเงินภาษีของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งชาติที่จ่ายไปให้องค์กรนี้หรือไม่ เพราะอาจจะเจอกับการโกงกินครั้งใหญ่ของวงการ NGO ในไทยหรือองค์กรเหล่านี้คือแหล่งฟอกเงินรัฐเพื่อนำไปเป็นทุนในการช่วยเหลือโจรใต้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อื่นก็เป็นได้
         
----------------------

28 มีนาคม 2561

"บิ๊กตู่"เผยคุยสันติสุขชายแดนใต้ก้าวหน้าเป็นลำดับยันรัฐบาลยึด กม.ไม่ทำอะไรให้เสียเปรียบ


27 มี.ค.2561 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวหลังการประชุมครม. ถึงกรณีนายสุกรี ฮารี หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฝ่ายมาราปาตานี ออกมาแสดงความมั่นใจในรัฐบาลทหารมากกว่ารัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุย คิดว่าเป็นสัญญาณที่ดี ว่า การพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ มีความก้าวหน้าไปตามลำดับ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อตกลงของคู่เจรจาไทยมีหลักการของไทยอยู่แล้ว ว่าจะถือเจตนาไว้แค่นั้นอย่างไร
             นโยบายของรัฐบาลต้องการให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เป็นคนโดยสมบูรณ์ เรามีมาตรการหลายอย่าง ทั้งโครงการพาคนกลับบ้านการใช้กระบวนการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระบวนการยุติธรรม ของกระทรวงยุติธรรม ถ้าทุกคนมีเจตนาดีและหวังดีก็ต้องกลับออกมาร่วมกันทำงาน มาหากลไกขับเคลื่อนให้เป็นไปตามที่ทุกคนต้องการ อย่างวันนี้ก็มีการหารือในระดับพื้นที่ทุกส่วน ไม่ใช่พูดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องของคณะกรรมการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ที่เหลือไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพูดคุย เป็นเรื่องการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดบรรยากาศในการพูดคุย  ซึ่งการพูดคุยก็ต้องมีฝ่ายเห็นต่างและฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลต้องยืนยันกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลัก จะไม่ทำให้อะไรให้เสียเปรียบ
            "ถ้ามาถามว่า รัฐบาลหน้า รัฐบาลประชาธิปไตยจะทำได้หรือไม่ ก็ท่านเป็นคนเลือกรัฐบาลประชาธิปไตยมาไม่ใช่หรือ ก็ไปคาดหวังรัฐบาลประชาธิปไตย วันนี้ผมยืนยันว่า ผมเป็นรัฐบาลแบบนี้ก็จะทำแบบนี้ ทำให้เกิดความชัดเจน ส่วนคิดว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบอย่างไร ก็เอาข้อเท็จจริงมาดำเนินการ" นายกฯ กล่าว
            ผู้สื่อข่าวถามว่าแกนนำมาราปาตานี ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาทของแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งสวนทางกับกระบวนการพูดคุยสันติสุขฯ ที่มีพล.อ.อักษรา เกิดผล เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องแม่ทัพภาคที่ 4  ตนได้กำชับไปแล้ว ซึ่งแม่ทัพภาคที่ 4  อยู่ในบทบาทการสร้างสภาวะแวดล้อมให้ปลอดภัย ส่วนเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การพัฒนา การเจรจา เป็นเรื่องของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ฝ่ายความมั่นคง ของกระทรวงกลาโหม และเรื่องของคณะพูดคุยที่พูดในกรอบของรัฐบาลที่มีการกำหนดชัดเจน อย่าไปพูดจนเสียหาย
           ส่วนพื้นที่ปลอดภัยจะสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ จะมีโอกาสเห็นก่อนที่รัฐบาลนี้จะหมดวาระหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรื่องพื้นที่ปลอดภัยไม่ได้อยู่ที่เรา และเราเองก็ต้องการความปลอดภัยอยู่แล้ว เร็วเท่าไร่ยิ่งดี แต่ขึ้นอยู่กับอีกฝ่ายว่าจะสามารถรับรองได้หรือไม่ หากรับรองแล้วจะมั่นใจได้หรือไม่ว่าจะไม่เกิดอะไรขึ้น เพราะรัฐบาลจะไม่เป็นผู้เปิดฉากใช้ความรุนแรง ไม่ได้ต้องการให้ใครบาดเจ็บทั้งสิ้น ต้องเป็นห่วงทหาร พลเรือนที่ทำงานอยู่ข้างล่างบ้าง ทำอะไรก็ตามอย่าให้เหมือนกับต่อสู้กับรัฐบาล มันไม่ใช่ นโยบายรัฐบาลนี้นิ่งอยู่แล้ว รัฐบาลเป็นคนแก้เรื่องนี้ ไม่ได้ไปแก้จากที่ไหน และจะไม่ส่งผลอะไรกับรัฐบาลหน้า ขึ้นอยู่ว่าเลือกใครเข้ามา และไม่ใช่เฉพาะเรื่องพูดคุยยังมีอีกหลายเรื่อง

27 มีนาคม 2561

นักศึกษาชายแดนใต้รณรงค์ต้านใช้ “กฎอัยการศึก” ต่อประชาชนหรือโจรใต้?




ความพยายามของนักศึกษาชายแดนใต้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ในรั้วมหาวิทยาลัยรัฐหลายแห่งมีการรณรงค์ต้านใช้ กฎอัยการศึกต่อประชาชนในพื้นที่ รวมถึงกี่เรียกร้อง RSD ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการทำกิจกรรมมีการรณรงค์ให้นักศึกษาแต่งชุดดำ เพื่อเป็นการสื่อและเป็นสัญลักษณ์ถึงความหวาดกลัวและความเจ็บปวดของประชาชน 

การจัดกิจกรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นความพยายามของกลุ่ม PerMAS ที่ต้องการใช้พื้นที่ในรั้วมหาวิทยาลัยรัฐทำกิจกรรมต่อต้านรัฐและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หลายครั้งในเวทีต่างๆ กลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้เรียกร้องพื้นที่ทางการเมือง สิทธิในการแสดงออกแต่ไม่สำเหนียกตัวตนของความเป็นนักศึกษา ไม่ได้ทำหน้าที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองมุ่งหวัง แต่ยอมให้หัวโจกในกลุ่มองค์กรบางตัวจูงจมูก น่าสงสารเรียนสูงระดับมหาวิทยาลัยแต่กลับไม่มีสมองคิดอะไรผิดอะไรถูก

การไม่ทำหน้าที่ของตัวเองด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองต้องผิดหวังทีหนึ่งแล้ว อย่าหลงลืมว่าเงินกู้มาศึกษาเล่าเรียนเป็นเงินภาษีของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่เงินของโจรใต้แต่กลับไปสนับสนุนโจรใต้ อีกทั้งการออกมาเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งมีการใช้วาทกรรมอย่างสวยหรู การรณรงค์ต้านใช้ กฎอัยการศึกต่อประชาชนในพื้นที่ ถามเหอะ!! การประกาศใช้กฎอัยการศึกทุกวันนี้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนหรือไม่!! ที่เห็นๆ มา ประชาชนยังคงใช้ชีวิตอย่างปกติสุขไม่เห็นจะเดือดร้อนอะไรเลย แต่ที่เต้นเหย็งๆ ออกมาโวยวายมิใช่อื่นไกลหรอกเพราะโจรเดือดร้อน กรูละเบื่อ!! พวกมันจริงๆ กับพวกสมองหมาปัญญาควาย

ประเด็น RSD ก็เช่นกันทั้งๆ ออกมาชูปงชูป้ายเซลฟี่กันสนุกสนาน ถามจริ๊งรู้หรือว่า RSD คืออะไร? หมายถึงอะไร!! RSD มีกี่ประเภท เงื่อนไขที่จะนำไปสู่ RSD มีอะไรบ้าง และไอ้การกล่าวหาว่าสยามล่าอาณานิคม และปาตานีตกเป็นเมืองขึ้น เป็นอาณานิคมของสยามมันจริงมั๊ย!! หากรู้ไม่จริงต้องศึกษาหาข้อมูลให้ถ่องแท้เสียก่อน อย่าให้ใครจูงจมูกได้มันอายเค้า มันไม่สมกับชื่อชั้นราคาเป็นถึงนักศึกษาสถาบันชื่อดังจะทำให้เสียเกียรติของเค้าซะเปล่าๆ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนดีเรียนเก่งและเข้าใจบริบทในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลก็มีเป็นส่วนมาก แต่ที่แตกแถวออกมาเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ ปิดหูปิดตาไม่ยอมรับความจริง โลกทุกวันนี้ไปถึงไหนกันแล้ว....

26 มีนาคม 2561


แถลงการณ์ของ "มารา ปาตานี" เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มี.ค.61 และมีการนัดสื่อมวลชนไทยบางแขนงไปรายงานข่าว รวมทั้งสัมภาษณ์พิเศษ คาดว่าเป็นที่ประเทศมาเลเซีย

          นายสุกรี ฮารี ตัวเเทนกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ร่วมในคณะพูดคุย และเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฝ่ายมาราปาตานี ได้อ่านเเถลงการณ์ท่าทีของ "มารา ปาตานี" ต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุข สรุปเป็นประเด็นๆ ได้ว่า

          1.ความก้าวหน้าและสิ่งที่จะดำเนินการอันสืบเนื่องจากกระบวนการพูดคุยนั้น ยังไม่ใช่ข้อยุติ เพราะเป็นเพียงการพูดคุยในระดับ “คณะทำงานเทคนิค” ยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะพูดคุยชุดใหญ่ของไทย

          2.มารา ปาตานี พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่เกี่ยวกับ "สิทธิ์ในการกำหนดใจตนเอง" หรือ Right to Self Determination (RSD)

          3.มารา ปาตานี เชื่อมั่นในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ โดยคณะพูดคุยที่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะพัฒนาเป็น "วาระแห่งชาติ" แต่รู้สึกกังวลกับการทำงานของกองทัพภาคที่ 4 ที่ส่งผลต่อบรรยากาศและสวนทางกับการทำงานของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯทั้งสองฝ่าย

          4.มารา ปาตานี เน้นว่า โครงการพาคนกลับบ้าน และการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย 14 อำเภอของแม่ทัพภาคที่ 4 ไม่เกี่ยวข้องกับการตกลงของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ

ขอนำคำกล่าวของอาจารย์พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ที่ได้กล่าวไว้ในเวทีเสวนาทางวิชาการ เรื่อง Right to Self Determination สิทธิในการกำหนดใจตนเองเพื่อสันติภาพปาตานี ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561
"เครื่องมือนั้นมีเพียงแค่ RSD หรือนำไปสู่เอกราชเพียงเท่านั้นหรือ?" แล้วเครื่องมือ RSD แท้จริงแล้วมีใครรับประกันได้บ้างว่าจะนำสู่สิ่งที่เราคาดหวังได้อย่างแท้จริง ในเมื่อจุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ จุดเริ่มต้นของคนบางคนที่เรียกร้องสิ่งนี้เขาเริ่มต้นมันด้วย “การใช้กำลังและความรุนแรงโดยไม่เลือกฝ่าย”

ในเมื่อกลุ่มขบวนการคือคือจุดเริ่มต้นของการใช้กำลังและความรุนแรง ยังมีหน้ามาเรียกร้อง"สิทธิ์ในการกำหนดใจตนเอง" หรือ Right to Self Determination (RSD) อยู่อีกหรือ!! ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาเป็นผู้ทำลาย นิยมความรุนแรง ไม่ต้องการสันติภาพ และเคยประกาศกร้าว “จะไม่หยุดยิงจนกว่ารัฐบาลไทยเจรจาสันติภาพ 2 ฝ่ายเท่านั้น” การปฏิบัติการทางทหารของเราไม่ใช่จุดหมายหมายทาง แต่มันคือ วิถีทางสู่เป้าหมาย น่าอนารถใจแทนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ วิถีทางสู่เป้าหมายของกลุ่มขบวนการคือซากศพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ นี่หรือที่ประกาศว่ากระทำการทุกอย่างเพื่อพี่น้องประชาชนปาตานี ที่แท้ทำเพื่อตัวเองและองค์กร

25 มีนาคม 2561

มาเลย์รวบ 7 สาวกไอเอส เตรียมก่อเหตุป่วนเมือง!!



ตำรวจมาเลเซียเผยจับกุมชาย 7 คน ที่มีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มไอเอสและกำลังวางแผนการโจมตีสถานที่เคารพบูชาทางศาสนาหลายแห่งที่ไม่ใช่ของชาวมุสลิม และเป้าหมายอื่นๆ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ว่า มาเลเซียอยู่ในภาวะเฝ้าระงับระดับสูง นับตั้งแต่กลุ่มคนร้ายแนวร่วมไอเอส ก่อเหตุโจมตีใจกลางกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของเพื่อนบ้านอินโดนีเซีย ในเดือน ม.ค. 2559


พล.ต.อ. โมฮัมหมัด ฟูซี ฮารุน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ ว่า ชาวมาเลเซีย 6 คนถูกจับกุมในรัฐยะโฮร์ ทางภาคใต้ ติดเขตแดนสิงคโปร์ ส่วนคนที่ 7 ชาวฟิลิปปินส์สมาชิกกลุ่มโจรอาบู ไซยาฟ เครือข่ายของกลุ่มไอเอส ถูกจับกุมในรัฐซาบาห์ ทางภาคตะวันออก ในปฏิบัติบุกจู่โจมหลายจุด ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 15 มี.ค.61
พล.ต.อ.โมฮัมหมัด กล่าวอีกว่า 6 คนที่ถูกจับกุมในรัฐยะโฮร์ และเป็นสมาชิกเครือข่ายกลุ่มไอเอส รวมถึงช่างเทคนิคอายุ 37 ปี มีหน้าที่หาสมาชิกใหม่ และเชื่อว่าเป็นผู้บงการแผนโจมตีศาสนสถานหลายแห่ง ที่ไม่ใช่ของชาวมุสลิม ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ อีกคนเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม และควบคุมการเก็บความลับของสมาชิก และอีกคนทำหน้าที่ซื้อหาอาวุธจากประเทศเพื่อนบ้าน และชี้เป้าโจมตี "กลุ่มคนเหล่านี้ทั้งหมดมีแผนหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านประเทศหนึ่ง และหาที่หลบซ่อนจากกลุ่มก่อความไม่สงบที่นั่น หลังจากประสบความสำเร็จในการลงมือโจมตีตามแผน" พล.ต.อ.โมอัมหมัด กล่าว โดยไม่ระบุชื่อประเทศเพื่อนบ้าน

เจ้าหน้าที่ยังจับกุมสมาชิกเครือข่ายเดียวกันนี้อีก 3 คน ในปฏิบัติการขยายผล ผู้ต้องสงสัยชุดนี้รวมถึงพนักงานร้านอาหารวัย 25 ปี ที่ได้รับคำสั่งให้ลักพาตัวและฆ่าตำรวจนายหนึ่ง.