"นายหัวครก"
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
โดยในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม หมวด 4
ว่าด้วยคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มาตรา 23 บัญญัติว่า “จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลามและมีมัสยิดตามมาตรา 13 ไม่น้อยกว่า 3
มัสยิด”
ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกิน 30 คน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 33
จังหวัด
“กระบวนการคัดเลือก”ในปีนี้ซึ่งจะหมดวาระลง อาจจะมีจังหวัดที่มีมัสยิดตามมาตรา 13 ไม่น้อยกว่า
3 มัสยิด เพิ่มขึ้นจากการเร่งสร้างมัสยิดในจังหวัดต่างๆ
ทั่วประเทศไทยเพื่อให้เข้าเงื่อนไขดังกล่าว นั่นแสดงว่าจะมีจังหวัดที่จะต้องมี“กระบวนการคัดเลือก”คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมากกว่า
33 จังหวัดแน่นอน
“กระบวนการคัดเลือก”คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน
2554 ซึ่งปลายปีนี้จะครบกำหนดวาระ 6 ปี ซึ่งเมื่อตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่างลงก่อนสิ้นวาระให้มีการคัดเลือกกรรมการแทนภายใน
90 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง
ส่องโฟกัส“กระบวนการคัดเลือก”ที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2560
ในการสรรหาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดปัญหาความรุนแรง อีกทั้งพื้นที่แห่งนี้ส่วนใหญ่จะมีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
เค้าลางความรุนแรงเริ่มปรากฏบ่งชี้ถึงการแข่งขันค่อนข้างดุเดือด ความเคลื่อนไหวเงียบๆ
ก่อนหน้านี้แฝงถึงความน่ากลัว
เมื่อมีการแข่งขันที่สูงแต่ละฝ่ายจึงจะต้องกระทำทุกวิถีทางเพื่อส่งคนของตัวเองเข้าไปมีบทบาทเป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
ผลจากการแข่งขันครั้งที่แล้วใครได้ ใครตกก็เป็นที่ทราบกันดี จากการส่งแคนดิเดตทำการต่อสู้ใน
3 จังหวัด จำนวน 6 ทีม
ปรากฏการณ์บ่งชี้ถึงความรุนแรง“กระบวนการคัดเลือก”คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เริ่มฉายแววให้เห็น เมื่อคนร้ายทำการก่อเหตุยิง นายอาแว เตาะซาตู หรือ“อุสตาสดารี”อุสตาสสอนศาสนา และเป็นเจ้าของโรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลาม บ้านปะแดลางา หมู่ที่ 5 ตำบลตะลุปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 20
มิถุนายนที่ผ่านมา
จากข่าวเชิงลึกพบว่า“อุสตาสดารี”ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เปิดเผยตัวสนับสนุนทีมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีทีมหนึ่งซึ่งอยู่คนละขั้วกับทีมกลุ่มขบวนการ
BRN
ให้การหนุนหลัง
กลุ่มขบวนการ BRN มีความต้องการอย่างยิ่งยวดที่จะส่งคนของตัวเองเข้าไปเป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
ให้การสนับสนุนคนของตัวเองทุกวิถีทางเพื่อยึดองค์กรที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนศาสนา
เมื่อพบผู้ที่ประกาศตัวอย่างเปิดเผยอย่าง“อุสตาสดารี” มีหรือ? กลุ่มขบวนการ BRN จะปล่อยให้มีชีวิตรอดเป็นก้างขวางคอ…
ใคร? คือคนของกลุ่มขบวนการ
BRN
ลองไปสอบถามรองคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี
ซึ่งท่านอาจจะรู้และมีข้อมูลว่าเป็นใคร? “กระบวนการคัดเลือก”คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีปลายปีต้องติดตามว่ากลุ่มที่ขบวนการหนุนหลังจะได้รับการคัดเลือกหรือไม?
และจะเกิดอะไรขึ้นหากคนกลุ่มนั้นได้เข้าไปทำหน้าที่
การแทรกแซงของกลุ่มขบวนการโดยการส่งคนของตัวเองเข้าไปในองค์กรต่างๆ
ไม่ได้มีแค่เฉพาะคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแต่เพียงเท่านั้น ในความเป็นจริงขบวนการ
BRN
ยังส่งคนของตัวเองเป็นนักการเมืองท้องถิ่น แฝงตัวในองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อทำการขับเคลื่อนงานการเมือง
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเป็นผู้นำองค์กรศาสนาในพื้นที่เท่านั้น
แต่ยังมีบทบาทแก้ไขปัญหาหลากหลายในท้องถิ่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเยาวชน
ปัญหายาเสพติด ปัญหาเกี่ยวกับอาหารฮาลาล รวมทั้งสานสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆ
จึงถือเป็นกลไกสำคัญในการร่วมสถาปนาสันติสุขให้เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่หากเป็นคนของขบวนการ
BRN
ล่ะ!!...อะไร? จะเกิดขึ้น...ฝากให้คิดเล่นๆ
กันค่ะ
---------------------------