…….(ต่อจากตอนที่ 3) ดี.จี.อี. ฮอลล์
กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม ๑ ว่า
"รัฐปัตตานีก็เปลี่ยนศาสนาเพราะมะละกา" สาเหตุเพราะ มะละกา โกรธแค้นไทย
ที่เคยไปโจมตีมะละกา สุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์
จึงส่งกองทัพมาตีหัวเมืองประเทศราชของไทย คือ ปาหัง ตรังกานู
และปัตตานีไว้ได้ระยะหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๘๘ - ๒๐๐๒ ต่อมา
ในสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์ ราชโอรสของสุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์ ซึ่งครองราช
ต่อจากพระราชบิดา ในปี พ.ศ.๒๐๐๒ - ๒๐๒๐ จึงยอมตกลงเป็นมิตรกับไทย ฉะนั้น
หัวเมืองประเทศราชของไทย ซึ่งเคยนับถือ ศาสนาพุทธมาก่อน ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู
กลันตัน ปัตตานี และไทรบุรี ก็คงจะทำการเปลี่ยนศาสนา ในรัชสมัย ของกษัตริย์ มะละกา
องค์ใดองค์หนึ่ง ที่กล่าวมาแล้ว เพราะระยะนั้น
อาณาจักรมะละกามีอำนาจทางการเมืองเข้มแข็งมาก และยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลาง
การเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วย อนึ่ง ระยะเวลาที่พญาอินทิรา เจ้าเมืองปัตตานี
ผู้เปลี่ยนศาสนา มารับอิสลาม ครองเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒ - ๒๐๕๗ นั้น
ใกล้เคียงกับสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์ มาก
…….อาณาจักรสิงหัดสาหรี ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกเจ้าชายจายากัตวัง
แห่งแคว้นเคดิรี ลอบเข้ามา โจมตี นครหลวง ในขณะที่ พระเจ้า เกอรตานาการา
กำลังประกอบพิธีบูชาศิวะพุทธเจ้า เจ้าชายวิชายา ราชบุตรเขย
ซึ่งยอมจำนนต่อเจ้าชายจายากัตวัง และได้รับ การแต่งตั้ง
ให้ไปปกครองดินแดนในแถบลุ่มน้ำ Brantas ได้รวบรวมกำลังขึ้นต่อสู้กู้เอกราชกลับคืนมาได้
และได้จัดตั้ง อาณาจักร มัชฌปาหิต ขึ้นในปี พุทธศักราช ๑๘๓๖
…….หนังสือเนเกอราเกอรตากามา แต่งโดยพระปัญจนักบวชในลัทธิศิวะพุทธ
ได้กล่าวถึงอิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปาหิตว่า ได้ส่ง กองทัพเรือ เข้ามา ยึดครอง
ดินแดนตามหมู่เกาะ ตลอดขึ้นมาถึงปลายแหลมไทย-มลายู ยึดปาหัง เสียมวัง กลันตัน และตรังกานู
ฯลฯ ซึ่งเรียกรวมๆ กันว่า ลังกาสุกะ ไว้ได้
…….ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ก็ได้บันทึกสนับสนุนข้อความที่พระปัญจเขียนไว้ว่า
"ครั้งนั้นเจ้าเมืองชาว ยกไพร่พลมาทางเรือ มารบ เอาเมือง ชวา จับตัวพระยา
ได้พระอัครมเหสี ก็ตามพระยา (นครฯ) ไปถึงเกาะอันหนึ่ง ได้ชื่อว่า เกาะนาง
โดยครั้งนั้น ชวา ก็ให้ เจ้าเมือง ผูกส่วย ไข่เป็ด แก่ชวา ชวาก็ให้พระยา (นครฯ)
คืนมาเป็นเจ้าเมือง" ตามเดิม
…….ในระยะเดียวกันนี้
อาณาจักรสุโขทัยก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบครองรัฐละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ
และนครศรีธรรมราช ไว้ และได้ผนวก กำลัง กันเข้าทำการขับไล่อิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปาหิตออกไปจากแหลมไทยมลายู
ดังปรากฏ หลักฐาน แสดงอาณาเขต ของ อาณาจักร
สุโขทัยในครั้งนั้นไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า "เบื้องหัวนอนรอด คนที แพรก
สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว" หลักฐานจีนก็ว่า
ปี ค.ศ.๑๒๙๕ (พ.ศ.๑๘๓๘) จีนส่งฑูตมาตักเตือนสุโขทัยไม่ให้รุกรานมาลิยูเออร์
(ความสัมพันธ์ระบบบรรณาการ ระหว่าง จีนกับไทย หน้า ๓๗ ของ ดร.สืบแสง พรหมบุญ
มาลิยูเออร์ นี้ บางท่านว่า คือ เมืองแจมบี ในเกาะสุมาตรา)
…….รัฐลังกาสุกะ จึงเข้ามารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรของชาวไทยเป็นครั้งแรก
ภายใต้การควบคุมของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็น พระญาติ
ของพระเจ้าขุนรามคำแหงตั้งแต่นั้นมา ดังที่โทเมบีเรส์ กล่าวว่า
"ผู้เป็นใหญ่" (ในการบังคับบัญชาราชอาณาจักร) รองลงมา
(จากพระเจ้าแผ่นดิน) คืออุปราชแห่งเมืองนคร เรียกกันว่า "Poyohya"
(พ่ออยู่หัว) เขาเป็นผู้ว่าราชการจากปะหังถึงอยุธยา และหลักฐาน
ทางจีน ก็กล่าวว่า ใน ค.ศ.๑๔๑๙ (พ.ศ.๑๙๖๒) "ขันทีหยางหมิน (Yangmin) เดินทางมาไทย พร้อมกับ อัญเชิญ คำตักเตือน ของ องค์จักรพรรดิ์
ต่อการรุกรานมะละกาของไทย"
…….กษัตริย์มะละกาขณะนั้น คือ เจ้าชายปรเมศวร หนังสือ Sumariental ของ Tome Pires กล่าวว่า เจ้าชาย ปรเมศวร มีเชื้อสาย
มาจาก ราชวงศ์ ไศเลนทร์ แห่งเมืองปาเล็มบัง
ไปได้เจ้าหญิงในราชวงศ์มัชฌปาหิตมาเป็นพระชายา ต่อมาเกิดขบถขึ้นในเมืองมัชฌปาหิต
โดยเจ้าชาย วีรภูมิเป็นผู้นำ ในปี ค.ศ.๑๔๐๑ (พ.ศ.๑๙๔๔) จึงลี้ภัยการเมืองมาอาศัยเจ้าเมือง
Tamasik (สิงคโปร์) ภายหลัง เจ้าชาย ปรเมศวร ได้ลอบฆ่า
เจ้าเมือง Tammasik เจ้าเมืองปัตตานีซึ่งเป็นพระญาติกับเจ้าเมือง
Tammasik ได้ขับไล่ปรเมศวรออกไปจากเมือง Tammasik ปรเมศวรจึงหนีมาตั้งเมืองมะละกาขึ้นในปี ค.ศ.๑๔๐๓ (พ.ศ.๑๙๔๖)
…….ต่อมา เจ้าชายปรเมศวรได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาเจ้าเมืองปาไซในเกาะสุมาตราที่นับถือศาสนาอิสลาม
ปรเมศวร จึงเลื่อน จากการ นับถือ ศาสนาฮินดู (ศิวะพุทธ) มาเป็นศาสนาอิสลาม
และได้เฉลิมพระนามตามหลักการของศาสนาอิสลามมีนามว่า เมกัตอิสกานเดอร์ชาฮ์
…….เจ้าชายปรเมศวรต้องเดินทางไปเฝ้าจักรพรรดิ์จีน
เพื่อขอให้จีนช่วยเจรจาห้ามปรามกษัตริย์ไทย ทำการรุกราน มะละกา ซึ่งฝ่ายไทยถือว่า
ดินแดนมะละกา อยู่ในความปกครองของไทยมาก่อน ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระราชพงศาวดาร
ฉบับพันจันทนุมาศว่า "ครั้งนั้น พระยา ประเทศราชขึ้น ๑๖ เมือง คือ
เมืองมะละกา เมืองชวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ
เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย
เมืองสวรรคโลก เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์" และในกฎ
มณเฑียรบาล ประมาณว่าเขียนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวปี พ.ศ.๑๙๐๓ หรือ ๑๙๙๐
ก็ว่า "กษัตริย์ แต่ได้ถวายดอกไม้ทองเงินนั้น เมืองใต้ เมืองอุยงตาหนะ
(หรือฮุยงเมทนี ยะโฮร์ และสิงคโปร์) เมืองมะละกา เมืองมลายู เมืองวรวารี (ไทรบุรี)
๔ เมืองถวายดอกไม้ทองเงิน"
…….พ.ศ.๑๘๖๖ อาณาจักรสุโขทัยหลังจากพ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์ (พ.ศ.๑๘๔๓)
แล้ว กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา ไม่สามารถ ดำรงความเป็น ผู้นำ ไว้ได้
พระบรมราชากษัตริย์แห่งรัฐละโว้ อโยธยา ทรงปฏิเสธต่ออำนาจอาณาจักรสุโขทัย
ได้เข้ายึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงหัวเมืองต่างๆ บนแหลมมลายู
ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ความว่า
"เมื่อท้าวอู่ทอง กับท้าวศรีธรรมโศกราช จะเป็นไมตรีกันนั้น
ท้าวอู่ทองขึ้นบนแท่นแล้ว พระยาศรีธรรมโศกจะขึ้นไปมิได้ ท้าวอู่ทอง ก็จูงพระกร
ขึ้นมงกุฎ ของพระเจ้าศรีธรรมโศก ตกจากพระเศียร แล้วท้าวศรีธรรมโศกสัญญาว่า
เมื่อตัวพระองค์ กับพระอนุชา ของพระองค์ ยังอยู่ ให้เป็นทอง แผ่นเดียวกัน
ถ้าท้าวอู่ทองต้องประสงค์สิ่งใดจะจัดแจงให้นานไปเบื้องหน้าให้มาขึ้นกรุงศรีอยุธยา"
…….ชาวจีนชื่อ หวังต้าหยวน ก็ได้บันทึกไว้ในปี ค.ศ.๑๓๔๙ (พ.ศ.๑๘๙๒) ว่า เสียน
(สยาม) โจมตี Tammasik (สิงคโปร์) ซึ่ง "เสียน"
ในที่นี่หมายถึง อาณาจักรละโว้-อโยธยา ของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
…….ครั้นถึงปี พ.ศ.๑๘๘๕ กษัตริย์ละโว้-อโยธยา ก็ส่งพระพนมวัง-นางสะเดียงทอง
ออกมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมวัง ได้สร้างเมืองนครดอนพระ
(อำเภอกาญจนดิษฐ์) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นเป็นศูนย์การปกครองอยู่ชั่วคราว
ต่อมาราวปีพุทธศักราช ๑๘๘๗ พระพนมวังแต่งตั้งให้พระฤทธิเทวา (เจสุตตรา)
ออกไปครองเมืองปัตตานี หนังสือสยาเราะห์เมืองปัตตานี
เรียกชื่อเมืองปัตตานีสมัยนั้นว่า "เมืองโกตามหลิฆัย"
ส่วนหนังสือเนเกอรราเกอราคามา เรียกว่า "ลังกาสุกะ"
ประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีกล่าวต่อไปว่า พระฤทธิเทวา (พระเปตามไหยกาของพญาอินทิรา)
ได้นำชาวเมืองโกตามหลิฆัย ไปช่วยพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑
สร้างพระนคร ศรีอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๐ - ๑๘๙๓)
…….พระฤทธิ์เทวา (เจสุตตรา) ครองเมืองโกตามหลิฆัยอยู่จนถึงปี พ.ศ.๑๙๒๗
ก็สิ้นพระชนม์ รวมเป็นระยะเวลาที่ครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี กษัตริย์องค์ต่อไป
ไม่ปรากฏนามชัดเจน
ประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีระบุเพียงว่าเป็นสมเด็จพระอัยกาของพญาอินทิรา ครองราชย์
อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๒๗ - ๑๙๖๗ เป็นเวลา ๔๐ ปี พระโอรสมีนามว่าพญาตุกูรุปมหาจันทรา
ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๖๗ - ๒๐๑๒ รวม ๔๕ ปี
พญาอินทิราราชโอรสก็ได้ขึ้นครองนครโกตามหลิฆัยเป็นองค์สุดท้าย ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๒
- ๒๐๕๗ รวม ๔๕ ปี
…….ในรัชสมัยของพญาอินทิรา ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ได้แก่
การเข้ารีตรับศาสนาอิสลามของพญาอินทิรา ประวัติศาสตร์ เมืองปัตตานี กล่าวถึงสาเหตุ
ที่พญาอินทิรา ต้องเปลี่ยนจากการนับถือพระพุทธศาสนา มานับถือศาสนาอิสลามว่า
เนื่องจากพระองค์ ทรงประชวร ด้วยโรคผิวหนัง (น่าจะเป็นโรคเรื้อน)
นายแพทย์ซึ่งเป็นมุสลิม ชื่อ เช็คสอิด (หนังสือสยาเราะห์เกอรจาอันมลายูปัตตานี ของ
อิบรอฮิม ซุกรี เรียก "เช็กซาฟานุคดีน") (น่าจะเป็นชาวเมืองปาไซในเกาะสุมาตรา)
ซึ่งเข้ามาตั้งนิวาสสถานอยู่ ณ หมู่บ้านปาไซ (บ้านป่าศรี ในท้องที่ อำเภอยะหริ่ง)
ได้รับอาสาถวายการพยาบาล โดยมีเงื่อนไขว่า
หากพระองค์ได้รับการรักษาจนหายจากโรคแล้ว ขอให้พญาอินทิรา
ทรงเปลี่ยนจากการเป็นพุทธมามกะมาเป็นอิสลามิก ซึ่งต่อมา
พระองค์ก็ได้รับการพยาบาลจากนายแพทย์เช็คสอิด จนโรคผิวหนังนั้น หายขาดสนิท
และทรงปฏิบัติตามสัญญา ที่ให้ไว้แก่นายแพทย์เช็คสอิด ด้วยการเข้ารับศาสนาอิสลาม
เป็นพระองค์แรก ของกษัตริย์เมือง โกตามหลิฆัย
และทรงเปลี่ยนพระนามพระองค์ตามประเพณีศาสนามีนามว่า สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์
แต่หนังสือ สยาเราะห์ เกอรจาอัน มลายู ปัตตานี ของอิบรอฮิม ซุกรี เรียกว่า
สุลต่านมูฮัมหมัดชาฮ์........ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน
ที่มา
: หนังสือ ประวัติเมืองลังกาสุกะ - เมืองปัตตานี /ผู้เขียน อนันต์ วัฒนานิกร
***อ่านย้อนหลัง***
จากลังกาสุกะมาเป็นเมือง
ปัตตานี ตอน 1
จากลังกาสุกะมาเป็นเมือง
ปัตตานี ตอน 2
จากเมืองลังกาสุกะ...สู่เมืองปัตตานี
ตอนที่ 3